Abstract | การศึกษาครั้งนี้ใช้การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey research) เป็นหลัก มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการนำนโยบายโครงการฟื้นฟู และพักชำระหนี้เกษตรกรรายย่อยและยากจนไปปฏิบัติ : กรณีศึกษาจังหวัดศรีสะเกษ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอยถาม ระหว่างวันที่ 1 พฤษภาคม ? 15 มิถุนายน 2552 กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงาน ธ.ก.ส. จำนวน 138 คน และเกษตรกรลูกค้าที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 378 คน
ผลการศึกษาสรุปได้ ดังนี้
(1)ด้านการนำนโยบายโครงการฟื้นฟูและพักชำระหนี้เกษตรกรรายย่อยและยากจนไปปฏิบัติ และผลการดำเนินการตามโครงการของพนักงาน ธ.ก.ส. พบว่า ความคิดเห็นของพนักงาน ธ.ก.ส. มีคะแนนเฉลี่ยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย ช 3.70, SD = 0.49 และ ค่าเฉลี่ย = 3.57, SD = 0.62) เมื่อทดสอบความสัมพันธ์โดยใช้สถิติ Pearson?s Correlation Coefficient พบว่า ทุกปัจจัยมีความสัมพันธ์กับผลการดำเนินการตามโครงการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ ด้านมาตรฐานและวัตถุประสงค์ของนโยบาย ด้านทรัพยากรของนโยบาย ด้านการสื่อสารระหว่างส่วนงานด้านลักษณะของหน่วยงานที่นำนโยบายไปปฏิบัติ ด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง และด้านทัศนคติของผู้นำนโยบายไปปฏิบัติ เมื่อค้นหาปัจจัยที่สมารถทำนายผลการดำเนินการตามโครงการด้วยสถิติ Multiple Regression Analysis พบว่า ตัวแปรด้านเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง ตัวแปรด้านการสื่อสารระหว่างส่วนงาน และตัวแปรด้านลักษณะของหน่วยงานที่นำนโยบายไปปฏิบัติ สามารถทำนายผลดำเนินการตามโครงการของพนักงาน ธ.ก.ส. ได้ร้อยละ 67.90 ดังนั้น ธ.ก.ส. จึงควรดำเนินนโยบายระยะยาวพัฒนาเกษตรกรลูกค้าให้สามารถปรับตัวและป้องกันปัญหาจากการเปลี่ยนแปลงตามภาวะเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ธ.ก.ส. ควรจัดการกระบวนการสื่อสารให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพื่อให้มีผลบังคับเป็นไปตามนโยบาย และควรปรับโครงสร้างส่วนงานให้ส่งเสริมการปฏิบัติงานของพนักงาน ธ.ก.ส.
(2) ด้านการเข้าร่วมโครงการฟื้นฟูและพักชำระหนี้เกษตรกรรายย่อยและยากจน และผลการดำเนินการตามโครงการของเกษตรกรลูกค้า พบว่า ความคิดเห็นของลูกค้าพักชำระหนี้มีคะแนนเฉลี่ยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย=4.20, SD=0.31 และค่าเฉลี่ย=4.18, SD=0.38) เมื่อทดสอบความสัมพันธ์โดยใช้สถิติ Pearson?s Correlation Coefficient พบว่า ทุกปัจจัยมีความสัมพันธ์กับผลการดำเนินการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ ด้านการสื่อสารโครงการด้านทรัพยากรของโครงการ ด้านทัศนคติของเกษตรกร และด้านหลักเกณฑ์การพักชำระหนี้ เมื่อค้นหาปัจจัยที่สามารถทำนายผลการดำเนินการตามโครงการด้วยสถิติ Multiple Regression Analysis พบว่า ตัวแปรด้านหลักเกณฑ์การพักชำระหนี้ ตัวแปรด้านทรัพยากรของโครงการ และตัวแปรด้านทัศนคติของเกษตรกร สามารถทำนายผลการดำเนินการตามโครงการของเกษตรกรลูกค้าได้ร้อยละ 49.80 ดังนั้น เกษตรกรลูกค้าจำเป็นต้องเข้าใจและยอมรับโครงการต่าง ๆ ของ ธ.ก.ส. เพื่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติและ ธ.ก.ส. ควรให้การสนับสนุนทรัพยากรอย่างเพียงพอทั้งด้านบุคลากร เครื่องมือ อุปกรณ์ และงบประมาณ และเกษตรกรลูกค้าควรมีทัศนคติที่ดีเพื่อให้โครงการประสบผลสำเร็จ
(3)เมื่อพิจารณาผลความคิดเห็นของพนักงาน ธ.ก.ส. และลูกค้าพักชำระต่อผลการดำเนินการตามโครงการปรากฏว่า คะแนนความคิดเห็นเฉลี่ยภาพรวมของลูกค้าพักชำระหนี้ (ค่าเฉลี่ย=4.18, SD=0.38) สูงกว่าพนักงาน ธ.ก.ส. (ค่าเฉลี่ย = 3.57, SD=0.62) พนักงาน ธ.ก.ส. และลูกค้าพักชำระหนี้มีความคิดเห็นเหมือนกันทุกปัจจัย คะแนนเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านเกษตรกรฟื้นฟูอาชีพและปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต รองลงมา คือ ด้านเกษตรกรบรรเทาภาระหนี้สินและเพิ่มขีดความสามารถในการชำระหนี้ คะแนนต่ำสุด คือ ด้านเกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นสามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ดังนั้น ธ.ก.ส. จึงควรมุ่งเน้นและพัฒนาด้านเกษตรกรฟื้นฟูอาชีพและปรับปรุงประสิทธาภาพการผลิตให้แก่เกษตรกรรายย่อยและยากจน โดยพัฒนาการอบรมให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นสามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนด รวมทั้งป้องกันหนี้ค้างชำระด้วย
|