การนำนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าไปปฏิบัติ : กรณีศึกษาโครงการตรวจสุขภาพประจำปีประชาชน อำเภอตาลสุม จังหวัดอุบลราชธานี

Titleการนำนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าไปปฏิบัติ : กรณีศึกษาโครงการตรวจสุขภาพประจำปีประชาชน อำเภอตาลสุม จังหวัดอุบลราชธานี
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2552
Authorsพัณณิตา พีระพรปัญญา
Degreeรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต--สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
Institutionคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberRA พ539
Keywordsการตรวจร่างกาย, การตรวจสุขภาพ, การนำนโยบายไปปฏิบัติ, ประชากร--ไทย--อุบลราชธานี--อำเภอตาลสุม--การตรวจสุขภาพ, โครงการตรวจสุขภาพประจำปี
Abstract

การศึกษาค้นคว้าอิสระฉบับนี้ เป็นการวิจัยเรื่อง ?การนำนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าไปปฏิบัติ : กรณีศึกษาโครงการตรวจสุขภาพประจำปีประชาชน ตำบลตาลสุม จังหวัดอุบลราชธานี? การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรของการวิจัยประกอบด้วย เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และประชาชนที่อายุ 15 ปีขึ้นไปที่ใช้สิทธิ์บัตรทอง รวมขนาดกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 433 คน ตัวแปรที่ทำการศึกษาประกอบด้วยตัวแปรอิสระคือ ลักษณะส่วนบุคคล และปัจจัยที่ส่งผลต่อผลการดำเนินการของโครงการตรวจสุขภาพประจำปีประชาชน มี 6 ปัจจัย คือ (1) ปัจจัยด้านนโยบาย (2) ปัจจัยด้านงบประมาณ (3) ปัจจัยด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน (4) ปัจจัยด้านทีมตรวจสุขภาพ (5) ปัจจัยด้านทรัพยากร (6) ปัจจัยด้านการประชาสัมพันธ์และแจ้งข่าวสาร ส่วนตัวแปรตามคือ ผลการดำเนินการของโครงการตรวจสุขภาพประจำปีประชาชน
ผลการศึกษาพบว่า ความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและประชาชนทั่วไปเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลการดำเนินการของโครงการตรวจสุขภาพประจำปีประชาชน อยู่ในระดับมาก มีคะแนนเฉลี่ย คือ 3.69 และ 4.048 ตามลำดับ
ผลการศึกษา ความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและประชาชนทั่วไปเกี่ยวกับผลการดำเนินการของโครงการตรวจสุขภาพประจำปีประชาชน อยู่ในระดับมาก มีคะแนนเฉลี่ย คือ 3.82 และ 3.69 ตามลำดับ
ผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อผลการดำเนินการของโครงการตรวจสุขภาพประจำปีประชาชนกับผลการดำเนินการของโครงการตรวจสุขภาพประจำปีประชาชน พบว่า กลุ่มเจ้าหน้าที่สาธารณสุข มีเพียง 2 ปัจจัยเท่านั้น คือ ปัจจัยด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน และปัจจัยด้านการประชาสัมพันธ์แจ้งข่าวสารมีความสัมพันธ์ทางบวกกับผลการดำเนินการของโครงการตรวจสุขภาพประจำปีประชาชน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 กลุ่มประชาชน พบว่าทุกปัจจัยมีความสัมพันธ์ทางบวก กับผลการดำเนินการของโครงการตรวจสุขภาพประจำปีประชาชน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
ผลการวิจัยอิทธิพลของปัจจัย พบว่า ปัจจัยที่สามารถอธิบายผลการดำเนินการของโครงการตรวจสุขภาพประจำปีประชาชนของกลุ่มเจ้าหน้าที่สาธารณสุขได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 นั้นประกอบด้วย 2 ปัจจัย เรียงจากมากไปหาน้อย คือ ปัจจัยด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน ปัจจัยด้านการประชาสัมพันธ์แจ้งข่าวสาร ส่วนกลุ่มประชาชน พบว่า ปัจจัยที่สามารถอธิบายผลการดำเนินการของโครงการตรวจสุขภาพประจำปีประชาชนได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 นั่นประกอบด้วย 5 ปัจจัย เรียงจากมากไปหาน้อย คือ ปัจจัยด้านงบประมาณ ปัจจัยด้านการประชาสัมพันธ์แจ้งข่าวสาร ปัจจัยด้านนโยบาย ปัจจัยด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน และปัจจัยด้านทรัพยากร
ผลการวิจัยความสัมพันธ์ปัจจัยส่วนบุคคล กับผลการดำเนินการของโครงการตรวจสุขภาพประจำปีประชาชน พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลของกลุ่มเจ้าหน้าที่สาธารณสุขไม่มีความสัมพันธ์กับผลการดำเนินการของโครงการตรวจสุขภาพประจำปีประชาชน ปัจจัยส่วนบุคคลของประชาชนด้านอายุ รายได้เฉลี่ย และจำนวนครั้งที่เข้ารับบริการตรวจสุขภาพ มีความสัมพันธ์กับผลการดำเนินการของโครงการตรวจสุขภาพประจำปีประชาชน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05

Title Alternate Public policy implementation of the health assurance system: the case study of the annual people's health checkup project of Tansum District, Ubon Ratchathani
Fulltext: