การเปลี่ยนแปลงพื้นที่ใช้ประโยชน์ของชุมชนอันเนื่องมาจากการปลูกพืชเศรษฐกิจ : กรณีศึกษาการปลูกยางพารา กลุ่มบ้านอุดมสุก เมืองบาเจียงจะเลินสุก แขวงจำปาสัก สปป.ลาว

Titleการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ใช้ประโยชน์ของชุมชนอันเนื่องมาจากการปลูกพืชเศรษฐกิจ : กรณีศึกษาการปลูกยางพารา กลุ่มบ้านอุดมสุก เมืองบาเจียงจะเลินสุก แขวงจำปาสัก สปป.ลาว
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2552
Authorsมณีวรรณ อินทปัญญา
Degreeศิลปศาสตรมหาบัณฑิต--สาขาวิชาสังคมศาสตร์และการพัฒนา
Institutionคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberSB ม139ก
Keywordsการปลูกพืชเศรษฐกิจ, การเปลี่ยนแปลงพื้นที่ใช้ประโยชน์, ที่ดินเพื่อการเกษตร--ลาว, พืชเศรษฐกิจ, พื้นที่ใช้ประโยชน์ของชุมชน, ยางพารา--การปลูก--ลาว, เมืองบาเจียงจะเลินสุก
Abstract

การศึกษาเรื่อง ?การเปลี่ยนแปลงพื้นที่ใช้ประโยชน์ของชุมชนอันเนื่องมาจากการปลูกพืชเศรษฐกิจ : กรณีศึกษา การปลูกยางพารา กลุ่มบ้านอุดมสุก เมืองบาเจียงจะเลินสุก แขวงจำปาสัก สปป.ลาว? เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่ศึกษาการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ใช้ประโยชน์ของชุมชน การดิ้นรน การปรับตัวของชุมชน กลุ่มบ้านอุดมสุก เมืองบาเจียงจะเลินสุก สปป.ลาว ที่อยู่ภายใต้การปิดล้อมต่าง ๆ ของการพัฒนา โดยใช้แนวคิดทฤษฎีหลักในการศึกษา 4 แนวคิดประกอบด้วย วาทกรรมการพัฒนา แนวคิดเรื่องการปิดล้อมกับการพัฒนา แนวคิดเรื่องการปรับตัว แนวคิดเรื่องการต่อรอง เพื่อเป็นกรอบของการศึกษา ซึ่งมีวัตถุประสงค์ของการศึกษาอยู่ 2 ประการ คือ เพื่อศึกษาการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ของชุมชนก่อนและหลังนโยบายส่งเสริมการปลูกยางพาราของรัฐ เพื่อศึกษาการปรับตัวของชุมชนภายหลังจากกลายเป็นเขตส่งเสริมการปลูกยางพาราของรัฐ เพื่อศึกษาการปรับตัวของชุมชนภายหลังจากกลายเป็นเขตส่งเสริมการปลูกยางพาราของรัฐ เพื่อศึกษาการปรับตัวจองชุมชนภายหลังจากกลายเป็นเขตส่งเสริมการปลูกยางพาราของรัฐ
ผลการศึกษาพบว่า ชุมชนกลุ่มบ้านอุดมสุกในอดีตเป็นชุมชนเกษตรกร การใช้ประโยชน์พื้นที่ของคนในชุมชนส่วนใหญ่ คือ การทำไร่ ทำสวนกาแฟ สวนหมากแหน่ง หรือ เร่ว สวนสีเสียด และอาศัยป่าที่อยู่รอบชุมชนเป็นแหล่งอาหารตามธรรมชาติ กระทั่งเมืองมีการขยายการพัฒนาจากภาครัฐเข้ามาถึงในชุมชน โดยดำเนินการตามแผนนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจแผนใหม่ของรัฐที่ว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุนจากต่างชาติโดยเฉพาะการปลูกพืชเศรษฐกิจที่มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญก็เพื่อยกระดับรายได้ พัฒนาคุณภาพชีวิต และยุติการถางป่าทำไร่เลื่อนลอย ตลอดจนการรักษาสภาพแวดล้อม เพื่อบรรลุเป้าหมายในการหลุดพ้นจากประเทศด้อยพัฒนา
การใช้ประโยชน์จากพื้นที่ของชุมชนเข้มข้นมากขึ้นเทื่อปลายปี ค.ศ.2004 (พ.ศ. 2547) เมื่อรัฐได้อนุญาตให้บริษัทต่างชาติเข้ามาสัมปทานพื้นที่ขนาดใหญ่ในการปลูกยางพาราโดยเริ่มจากพื้นที่บางส่วนที่เป็นป่าเสื่อมโทรม บริษัทเหล่านั้นได้ทำการขยายพื้นที่ของการปลูกยางพาราด้วยการขอซื้อพื้นที่ทางการเกษตรของชุมชนโดยได้รับแรงสนับสนุนจากบางหน่วยงานของภาครัฐและเมื่อชาวบ้านในชุมชนยอมมอบ (ขาย) พื้นที่ทางการเกษตรแก่เกษตรแก่บริษัทแล้วทางบริษัทจะรับเข้าเป็นแรงงานในนิคมปลูกยางพาราซึ่งจะทำให้ชาวบ้านมีรายได้ที่แน่นอน
ภายหลังจากที่คนในชุมชนได้มอบ (ขาย) พื้นที่ทางการเกษตรแก่ทางบริษัทที่ได้รับสัมปทานแล้ว ชุมชนประสบปัญหาพื้นที่ทำการเกษตรไม่เพียงพอกับความต้องการโดยเฉพาะพื้นที่การผลิตข้าวซึ่งเป็นอาหารหลักนั้นไม่เพียงพอต่อการบริโภคในครัวเรือน นอกจากนี้รายได้จากการเป็นแรงงานในนิคมปลูกยางพารานั้นก็ไม่เพียงพอต่อการใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นในปัจจุบัน พื้นที่ป่าชุมชนที่เคยเป็นแหล่งพึ่งพาอาหารตามธรรมชาติรอบ ๆ หมู่บ้านก็หมดไป เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวรวมไปถึงพื้นที่ทางเกษตรของชุมชน อันเป็นแหล่งอู่ข้าวอู่น้ำ ปัจจุบันได้กลายเป็นพื้นที่ของนิคมยางพาราไปเกือบทั้งหมด ซึ่งส่งผลให้ชุมชนเกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งวิถีชีวิต วิถีการผลิต อาชีพ และความสัมพันธ์ในชุมชน

Title Alternate The changing of communities land use for commercial tree plantation: a case study of rubber tree plantation in Udomsouk villge, Bachiengchalernsouk district, Champasak province, Lao PDR.