Title | การวิเคราะห์เปรียบเทียบต้นทุน-ผลได้ของการดำเนินงานป้องกันอาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาในหอผู้ป่วยในโดยเภสัชกร โรงพยาบาลขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ |
Publication Type | วิทยานิพนธ์/Thesis |
Year of Publication | 2551 |
Authors | หนึ่งหทัย ขยันการนาวี |
Degree | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต--สาขาวิชาเภสัชกรรมคลินิกและการบริหาร |
Institution | คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี |
City | อุบลราชธานี |
Call Number | RM ห159ก |
Keywords | การวิเคราะห์เปรียบเทียบต้นทุน-ผลได้, การใช้ยา, การใช้ยา--การติดตามผล, การให้คำแนะนำ, ยา--ผลที่ไม่พึงประสงค์, อาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา, อาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาชนิดที่สามารถป้องกันได้ |
Abstract | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการวิเคราะห์ต้นทุนผลได้ของการดำเนินงานป้องกันอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาในหอผู้ป่วยในโดยเภสัชกร โรงพยาบาลขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ โดยการศึกษาแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ การศึกษาอุบัติการณ์การเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา การประเมินต้นทุนผลได้ของการดำเนินงาน และการประเมินความสอดคล้องของเกณฑ์ในการประเมินอาการไม่พึงประสงค์ชนิดที่สามารถป้องกันได้ โดยใช้เกณฑ์ของ Schumock and Thornton Criteria (1992) และเกณฑ์ของ French Standardize Preventability Scale ซึ่งการศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบไปข้างหน้าในระยะเวลา ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2550 ถึง 31 ธันวาคม 2550 ผลการศึกษาพบว่าจากประชากรที่ศึกษาทั้งสิ้น 2,397 คน มีอุบัติการณ์ในการเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาร้อยละ 4.71 และพบว่ามีอุบัติการณ์ของผู้ป่วยร้อยละ 0.58 ที่ต้องเข้ารับการศึกษาตัวในโรงพยาบาลเนื่องจากอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา เมื่อพิจารณาในแง่ของความสามารถในการป้องกันอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาโดยเภสัชกรนั้น ในการศึกษานี้พบว่าเภสัชกรสามารถตรวจสอบพบคำสั่งใช้ยาที่มีโอกาสเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาได้ 92 ครั้ง เป็นอาหารไม่พึงประสงค์ชนิดป้องกันได้ทั้งหมด จากนั้นเภสัชกรทำการให้คำแนะนำแก่บุคลากรทางการแพทย์จำนวน 92 ครั้ง ได้รับการยอมรับ 75 ครั้ง คิดเป็นอัตราร้อยละ 81.52 และไม่ได้รับการยอมรับ 17 ครั้ง คิดเป็นอัตราร้อยละ 18.48 ผลจากการให้คำแนะนำพบว่าเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาขึ้นจริง 78 ครั้ง และเภสัชกรสามารถช่วยป้องกันไม่ให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาขึ้นได้ 11 ครั้ง คิดเป็นอัตราร้อยละ 11.96 นอกจากนี้คำแนะนำของเภสัชกรสามารถลดความรุนแรงของอาการไม่พึงประสงค์จากการใช่ยาที่เกิดขึ้นได้ โดยสามารถช่วยจำนวนการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ที่คาดว่าจะเกิดในระดับ ?รุนแรง? จาก 17 ครั้ง ลดลงเหลือ 0 ครั้ง และลดจำนวนความรุนแรงในระดับ ?ปานกลาง? ที่คาดว่าจะเกิดขึ้น 53 ครั้ง ลดลงเหลือ 14 ครั้ง และพบว่าอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาส่วนใหญ่อยู่ในระดับรุนแรง ?น้อย? ในรอบการศึกษา 4 เดือน มีต้นทุนอยู่ที่ 6,050.06 บาท หรือคิดเป็น 12,151.80 ต่อปี และมีผลได้อยู่ที่ 70,591.96 บาท ดังนั้นอัตราส่วนต้นทุน-ผลได้มีค่าเท่ากับ 11.67 เท่า นั่นคือ การดำเนินงานนี้ผลได้มากกว่าต้นทุน 11.67 เท่า ส่วนการประเมินความสอดคล้องระหว่างเกณฑ์ของ Schumock and Thornton Criteria (1992) และเกณฑ์ของ French Standardize Preventability Scale โดยใช้สถิติ kappa นั้นพบว่า ทั้ง 2 เกณฑ์มีความสอดคล้องกันในระดับปานกลางที่ kappa = 0.559 (p<0.05) |
Title Alternate | Cost-benefit analysis of adverse drug reaction prevention by pharmacist in in-patient department, Khunhan hospital Sisaket province |