การพัฒนาขีดความสามารถในการสร้างชิ้นงานหัตถกรรมแก้วศิลป์เพื่อสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจระดับชุมชน : การพัฒนากระบวนการรีไซเคิลขยะแก้วเพื่อสร้างเป็นชิ้นงานแก้วศิลป์

Titleการพัฒนาขีดความสามารถในการสร้างชิ้นงานหัตถกรรมแก้วศิลป์เพื่อสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจระดับชุมชน : การพัฒนากระบวนการรีไซเคิลขยะแก้วเพื่อสร้างเป็นชิ้นงานแก้วศิลป์
Publication Typeงานวิจัย/Research report
Year of Publication2551
Authorsจินตนา เหล่าไพบูลย์, เรวัฒน์ เหล่าไพบูลย์
Institutionคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberTP156.R38 จ48
Keywordsการกำจัดขยะ, การนำกลับมาใช้ใหม่, การประดิษฐ์ด้วยเศษขยะ, ขยะ--การนำกลับมาใช้ใหม่
Abstract

โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์แก้วสีให้มีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะนำไปใช้สร้างเป็นชิ้นงานหัตถกรรมแก้วศิลป์ โดยใช้วัตถุดิบเป็นขวดแก้วใช้แล้วและเศษแก้วที่ใช้ในห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์เป็นวัตถุดิบ โดยใช้เทคนิคการหลอมที่อุณหภูมิสูง และใช้สารเติมแต่งเพื่อให้คุณภาพแก้วที่ดี ผลการวิจัยได้ทำการแยกขยะแก้วออกเป็น 6 ประเภท คือ แก้วใส แก้วสีเขียว แก้วสีน้ำตาล แก้วสีน้ำเงิน แก้วสีฟ้า และแก้ววิทยาศาสตร์ และเมื่อนำขยะแก้วไปทำการศึกษาหาองค์ประกอบของธาตุด้วยเทคนิคการเรืองรังสีเอกซ์ได้ผลการศึกษาดังนี้
แก้วใสมีองค์ประกอบทางเคมี คือ Si, Na, Mg, Al, S, K, Ca, Ti, Fe, Sr, Zr และ Cl
แก้วสีเขียวมีองค์ประกอบทางเคมี คือ Si, Na, Mg, Al, K, Ca, Ti, Cr, Fe, Sr, As, Zr และ Pb
แก้วสีน้ำตาลมีองค์ประกอบทางเคมี คือ Si, Na, Ng, Al, K, Ca, Ti, Fe, Sr, Zr ปละ Cl
แก้วสีน้ำเงินมีองค์ประกอบทางเคมี คือ Si, Na, Mg, Al, K, Ca, Fe, Sr, Zr และ Co
แก้วสีฟ้ามีองค์ประกอบทางเคมี คือ Si, Na, Mg, Al, K, Ca, Fe, Sr, Zr, Pb, Cl, Co และ Cu
แก้ววิทยาศาสตร์มีองค์ประกอบทางเคมี คือ Si, Na, Al, K, O และ B
เมื่อนำแก้วใสมาปรุงส่วนผสมและเติมโลหะออกไซด์จะได้แก้วสีต่าง ๆ ดังนี้ คือ สีฟ้าเติมโลหะออกไซด์ของทองแดง สีเขียวเติมโลหะออกไซด์ของโครเมียม สีน้ำตาลเติมโลหะออกไซด์ของเหล็ก สีน้ำเงินเติมโลหะออกไซด์ของโคบอลท์
ส่วนผสมของแก้วรีไซเคิลที่เหมาะสมมีอยู่ 3 แบบ คือ
1)เศษแก้วชนิด X (เศษแก้วใส/ เศษแก้วสีฟ้า/ เศษแก้วสีน้ำตาล/ เศษแก้วสีน้ำเงิน) : โซเดียมคาร์บอเนตเป็น 1.50:10..
2)เศษแก้วสี Y (เศษแก้วสีฟ้า/ เศษแก้วสีน้ำตาล/ เศษแก้วสีน้ำเงิน) : เศษแก้วสี Z (เศษแก้วสีฟ้า/ เศษแก้วสีน้ำตาล/ เศษแก้วสีน้ำเงิน) : โซเดียมคาร์บอเนต เป็น 0.70:0.70:1.00
3)เศษแก้วใส : โซเดียมคาร์บอเนต: ตะกั่วออกไซด์ : ออกไซด์โลหะอื่น เป็น 1.40: 1.00: 0.40: (0.05-0.20) ซึ่งปริมาณออกไซด์โลหะที่เติมจะมีผลต่อความเข้มข้นของสีแก้วที่ได้
ความหนาแน่นของแก้วอยู่ในช่วง 2.5906-2.9475 g/ลูกบาศก์เซนติเมตร ค่ายังโมดูลัสตามยาวอยู่ในช่วง 82.0284-100.0946 MPa ค่าโมดูลัสเฉือนอยู่ช่วง 26.2975-48.2637 MPa ค่าบัคโมดูลัสอยู่ในช่วง 32.4300-69.5103 MPa ค่าปัวซองอยู่ในช่วง 0.0359-0.2684 MPa ค่ายังโมดูลัสอยู่ในช่วง 38.4785-92.8304 MPa และค่าความแข็งอยู่ในช่วง 2.3420-12.5544 MPa
แก้วสีที่ได้มีคุณสมบัติทางกายภาพที่ดี คือ มีสีและความแวววาวที่สวยงามสามารถนำไปเป่าขึ้นรูปเป็นลูกปัดและนำไปเจียระไนเป็นเครื่องประดับที่มีความงดงามและมีราคาของเนื้อแก้วต่ำกว่าแก้วที่นำเข้าจากต่างประเทศ

Title Alternate Development of recycle process of glass waste for used as raw material in the art works : Performance enhancement of the glass handicraft to strengthening the local econonics