Title | การศึกษาอากาศพลศาสตร์ของรถบรรทุกเล็กที่ติดอุปกรณ์เสริมและแนวทางการประหยัดพลังงาน |
Publication Type | งานวิจัย/Research report |
Year of Publication | 2551 |
Authors | กุลเชษฐ์ เพียรทอง, ประชาสันติ ไตรยสุทธิ์, ทองคำ กิริยะ, ปรัชญา มุขดา |
Institution | คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี |
City | อุบลราชธานี |
Call Number | TL230 ร451 |
Keywords | รถบรรทุก--การออกแบบ, อากาศพลศาสตร์ |
Abstract | รูปร่างของรถยนต์ มีผลกระทบโดยตรงต่อสัมประสิทธิ์แรงต้าน เนื่องจากรูปร่างของรถยนต์เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดแรงและโมเมนต์ที่กระทำต่อรถยนต์ งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาคุณลักษณะทางอากาศพลศาสตร์ของรถยนต์บรรทุกเล็กมีที่นั่งด้านหน้าสองตอนที่มีการปรับปรุงท้ายกระบะ เพื่อนำมาทดสอบสัมประสิทธิ์แรงต้าน (CD) โดยใช้อุโมงค์ลมความเร็วต่ำและวิธีจำลองเชิงตัวเลข ใช้ซอฟต์แวร์ Fluent แบบ 3 มิติ โดยทดสอบแบบจำลองด้วยอุโมงค์ลมที่ความเร็วระหว่าง 18-43 km/hr ก่อนที่จะทดสอบรถขนาดจริงด้วยวิธีจำลองเชิงตัวเลขที่ความเร็ว 36-126 km/hr ทดสอบรถ 6 กรณี คือ เปิดท้ายกระบะปกติ เปิดฝาท้ายกระบะ ไม่มีฝาท้านกระบะ ปิดท้ายกระบะ ครอบท้ายกระบะแบบเฉียง ครอบท้ายกระบะแบบตรง โดยแบบจำลองทั้งหมดมีพื้นที่หน้าตัดของรถเท่ากัน การศึกษานี้เน้นศึกษาคุณลักษณะด้านอากาศพลศาสตร์ที่มีผลกับการหมุนวนของอากาศด้านท้ายกระบะของรถบรรทุกเล็กเพื่อลดสัมประสิทธิ์แรงต้าน โดยกรณีครอบท้ายกระบะแบบเฉียงจะลดสัมประสิทธิ์แรงต้านจาก 0.52 เป็น 0.4 (ที่ความเร็วเฉลี่ย) ลดอัตราการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงได้ 6.91 เปอร์เซ็นต์ กรณีครอบท้านกระบะแบบตรง เพิ่มสัมประสิทธิ์แรงต้านจาก 0.52 เป็น 0.75 เพิ่มอัตราการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงเป็น 8.81 เปอร์เซนต์ และศึกษาการลดลงของสัมประสิทธิ์ต้านของรถคันหลังที่สิ่งห่างจากคันหน้าที่ระยะห่างต่างกัน พบว่า ที่ระยะห่าง 10 m อัตราการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงลดลงจากวิ่งปกติคันเดียว 6.52% (ที่ความเร็วเฉลี่ย) และกรณีรถวิ่งเยื้องกัน พบว่า รถคันหลังที่วิ่งห่างที่ระยะ 10 m และเยื้อง 1 m อัตราการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงของรถคันหลังลดลง 1.90% (ที่ความเร็วเฉลี่ย) การศึกษานี้ยังยืนยันอีกว่า การลดการไหลของอากาศเข้าสู่ห้องผู้โดยสาร หรือลดการหมุนวนของอากาศที่เกิดจากรูปทรงท้ายกระบะก็สามารถลดพลังงานในการขับเคลื่อนได้วิธีหนึ่ง |
Title Alternate | Investigation on aerodynamics of small utility trucks with body kits and energy saving feasibility |