Title | การผลิตกระจกกำบังรังสีเอ็กซ์โดยการรีไซเคิลแก้วโบโรซิลิเกต |
Publication Type | วิทยานิพนธ์/Thesis |
Year of Publication | 2551 |
Authors | เชิดศักดิ์ บุตรจอมชัย |
Degree | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต -- สาขาฟิสิกส์ |
Institution | คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี |
City | อุบลราชธานี |
Call Number | QC ช756 |
Keywords | รังสีเอกซ์--เครื่องมือ, เครื่องเอ็กซเรย์ |
Abstract | แก้วในระบบ Recycle borosilicate – Na2O – BaO – Sb2O3 ที่มีองค์ประกอบต่างกัน ได้ถูกวัดความเร็วคลื่นคามยาว ตามขวางด้วยเทคนิคอัลตร้าโซนิคที่ความถี่ 4 เมกกะเฮิร์ท และหาค่าความหนาแน่นของแก้วโดยใช้หลักการของอาร์คีมีดีสและใช้ เอ็น-เฮ็กเซนเป็นของเหลว ค่าดังกล่าวถูกนำมาคำนวณหาค่าคุณสมบัติความยืดหยุ่นของแก้ว คือ โมดูลัสตามยาว โมดูลัสตามขวาง ยังโมดูลัส โมดูลัสเชิงปริมาตร และอัตราส่วนของปัวซอง ผลการทดลองพบว่าคุณสมบัติของแก้วเปลี่ยนแปลงตามองค์ประกอบของแก้วที่เปลี่ยนไปโดยคุณสมบัติดังกล่าวมีค่ามากขึ้น เมื่อปริมาณของแบเรียมออกไซด์เพิ่มขึ้น และจากการทดสอบคุณสมบัติทางรังสีโดยใช้ต้นกำเนิดรังสีที่มีพลังงาน 60 keV 122-136 keV และ 662 keV พบว่่าค่าสัมประสิทธิการลดทอนเชิงเส้นและสัมประสิทธิ์การลดทอนเชิงมวลเพิ่มขึ้นเมื่อปริมาณแบเรียมออกไซด์มากขึ้น ค่า HVL มีค่าลดลงเมื่อปริมาณแบเรียมออกไซด์เพิ่มขึ้น แก้วตัวอย่างที่มีความเหมาะสมที่จะนำไปพัฒนาต่อเป็นกระจกกำบังรังสี คือ แก้วที่มีส่วนประกอบของแบเรียมออกไซด์ 55% โดยน้ำหนัก โดยมีค่า HVL มีค่าเท่ากับ 0.3875 cm ที่พลังงานของรังสีแกมมา 122-136 keV และจากการเปรียบเทียบค่า HVL กับกระจกกำบังรังสีเอ็กซ์ที่มีตะกั่วเป็นองค์ประกอบที่ผลิตในเชิงพาณิชย์จากต่างประเทศ พบว่าแก้วที่ได้จากการวิจัยมีค่า HVL มากกว่าประมาณ 3 เท่า ซึ่งแก้วที่ได้จากงานวิจัยนี้สามารถนำไปใช้พัฒนาต่อเป็นกระจกกำบังรังสีเอ๊กซ์สำหรับเครื่องเอ๊กซเรย์วินิจฉัยโรค ตัวอย่างแก้วสามารถทำเป็นกระจกกำบังรังสีได้ดีเท่ากระจกตะกั่วมาตรฐานโดยที่กระจกตัวอย่างมีความหนามากกว่า การทดสอบคุณสมบัติทางรังสีมีความคลาดคลื่นจากการวัดน้อยกว่า 2% |
Title Alternate | Fabrication of recycle borosilicate glass for x-ray shielding |