Title | ความเป็นไปได้ของการผลิตข้าวหอมมะลิในระบบเกษตรอินทรีย์ที่จะเป็นอาชีพทางเลือกที่มีศักยภาพในการแก้ไขปัญหาความยากจนสำหรับเกษตรกรภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง: กรณีศึกษาจังหวัดอุบลราชธานี |
Publication Type | งานวิจัย/Research report |
Year of Publication | 2549 |
Authors | นันทิยา หุตานุวัตร, สุวัฒน์ ธีระพงษ์ธนากร, นพมาศ นามแดง, กันยารัตน์ ปัญญารัมย์, วิทยา ผลคำ |
Institution | คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี |
City | อุบลราชธานี |
Call Number | SB191.R5 น431อ |
Keywords | ข้าวหอม--การปลูก--อุบลราชธานี, ข้าวอินทรีย์--การปลูก--อุบลราชธานี, เกษตรธรรมชาติ, เกษตรอินทรีย์--อุบลราชธานี |
Abstract | ประเทศไทยยังมีประชากรที่ยากจนในอัตราส่วนหนึ่งต่อสิบคน และร้อยละ 70 ของคนจนเหล่านั้นมีอาชีพการเกษตร โดยเฉพาะอาชีพทำนาซึ่งมีข้าวหอมมะลิเป็นพืชหลักที่สร้างรายได้ให้กับเกษตรกร ปัจจุบันในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานีเริ่มมีการผลิตข้าวหอมมะลิในระบบอินทรีย์ เนื่องจากการส่งเสริมขององค์กรเอกชนและหน่วยงานภาครัฐบางส่วน ดังนั้น งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาว่า “การผลิตข้าวหอมมะลิในระบบเกษตรอินทรีย์มีความเป็นไปได้หรือไม่ในการเป็นอาชีพทางเลือกที่มีศักยภาพในการแก้ไขปัญหาความยากจนสำหรับเกษตรกรภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง โดยพิจารณาถึงความเหมาะสมทางสังคมวัฒนธรรม สภาพกายภาพและชีวภาพ และสภาพทางเศรษฐกิจ” โดยวิธีการสัมภาษณ์เกษตรกรกลุ่มผสมผสานที่มีข้ามหอมมะลิอินทรีย์เป็นพืชหลัก 19 ราย ผลิตข้าวหอมมะลิในระบบอินทรีย์ ระบบอินทรีย์ระนะปรับเปลี่ยน และระบบทั่วไป กลุ่มละ 20 ราย ในเขตพื้นที่อำเภอเมือง สำโรง ม่วงสามสิบ และอำเภอกุดข้าวปุ้น จังหวัดอุบลราชธานี รวมทั้งสัมภาษณ์และศึกษาข้อมูลจากหน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานพัฒนาหรือองค์กรเอกชนที่เกี่ยวข้องกับข้าวหอมมะลิอินทรีย์ และสัมภาษณ์ผู้บริโภคอาหารอินทรีย์ 10 ราย และกลุ่มที่ไม่บริโภคอาหารอินทรีย์ 10 ราย สังเคราะห์และวิเคราะห์ผลการศึกษาทั้งเชิงพรรณนา (Descriptive Method) และเชิงปริมาณ (Quantitative Method) ตามหลักทฤษฎีเศรษฐศาสตร์และสงคมศาสตร์ |
Title Alternate | The possibility of Hom Mali Rice production in organic farming systems as an alternative farming career with poverty alleviation potential for Lower-Northeastern farmers: the case of Ubon Ratchathani Province |