Title | การดำรงอยู่ของความขัดแย้งในการใช้ทรัพยากรป่าไม้ของหมู่บ้านรอบแนวเขตวนอุทยานภูสิงห์-ภูผาผึ้ง จังหวัดอำนาจเจริญ |
Publication Type | วิทยานิพนธ์/Thesis |
Year of Publication | 2552 |
Authors | ประสิทธิ์ ชื่นใจ |
Degree | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต--สาขาวิชาสังคมศาสตร์และการพัฒนา |
Institution | คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี |
City | อุบลราชธานี |
Call Number | SD ป413 |
Keywords | การจัดการป่าไม้, การบริหารความขัดแย้ง--อำนาจเจริญ, ทรัพยากรป่าไม้--การจัดการ--อำนาจเจริญ, นโยบายป่าไม้, วนอุทยานภูสิงห์-ภูผาผึ้ง, อุทยานแห่งชาติ--อำนาจเจริญ |
Abstract | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เพื่อศึกษาการดำรงอยู่ของความขัดแย้งในการใช้ทรัพยากรป่าไม้ของหมู่บ้านรอบแนวเขตวนอุทยานภูสิงห์-ภูผาผึ้ง จังหวัดอำนาจเจริญ จากผลการศึกษาทำให้ทราบสาเหตุที่ทำให้ความขัดแย้งในการใช้ทรัพยากรป่าไม้ของหมู่บ้านรอบแนวเขตยังคงดำรงอยู่มาจากปัจจัย ดังนี้
1)ปัจจัยภายนอกที่นำไปสู่การดำรงอยู่ของความขัดแย้ง คือ (1)นโยบายของรัฐ ได้แก่ การออก ส.ป.ก. 4-01 การออกเอกสารสิทธิทำกิน (ส.ท.ก.) การส่งเสริมปลูกพืชพาณิชย์ การผ่อนผันให้ราษฎรเข้าไปทำกินในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ตามคติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2541 ซึ่งนำไปสู่การยึดถือ ครอบครอง ตลอดจนการบุกรุกพื้นที่ป่าเพื่อปลูกพืชพาณิชย์และจะได้เข้าหลักเกณฑ์ในการออกเอกสาร และตามมติคณะรัฐมนตรี (ค.ร.ม.) ดังกล่าว (2) จัดตั้งวนอุทยานภูสิงห์-ภูผาผึ้ง เพื่อรักษาพื้นที่ป่าไม้เอาไว้เป็นแหล่งท่องเที่ยว ซึ่งชาวบ้านในพื้นที่รอบแนวเขตวนอุทยานภูสิงห์-ภูผาผึ้งอ้างว่ามีการประกาศทับพื้นที่ป่าชุมชนของชาวบ้าน และทับที่ดินทำกันของราษฎร (3) นโยบายจัดตั้งป่าชุมชนที่ไม่มีกฎหมายรองรับ เมื่อมีการประกาศวนอุทยานภูสิงห์-ภูผาผึ้ง ซึ่งชาวบ้านอ้างว่ามีการประกาศทับป่าชุมชน ทำให้ราษฎรบ้านสงยางบางส่วนไม่พอใจเกิดการแบ่งที่ดินกันเพื่อทำกิน (4) การซื้อที่ดินและซื้อสวนยางพาราจากนายทุนข้ามถิ่นในราคาสูง ทำให้ชาวบ้านขายที่ดินและหันไปบุกรุกพื้นที่ป่าเพื่อทำกินใหม่ จนถูกเจ้าหน้าที่จับกุมดำเนินคดีและนำไปสู่ปัญหาการเรียกร้องที่ดินทำกินของราษฎรในรูปแบบต่าง ๆ
2)ปัจจัยภายในที่นำไปสู่การดำรงอยู่ของความขัดแย้งก็คือ (1) การใช้ทรัพยากรป่าไม้ การหวงแหนและแบ่งแยกพื้นที่ในการใช้ประโยชน์ในการเก็บหาของป่า เกิดความไม่พอใจกันระหว่างหมู่บ้านมีการเผาป่า (2) หมู่บ้านแต่ละหมู่บ้านมีการทำไม้ เพื่อขายให้กับกลุ่มนายทุน (3) ในชุมชนต้องการความสะดวกสบายและความเจริญเข้าในหมู่บ้านทำให้มีภาระค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันที่สูงขึ้น ทำให้ชาวบ้านต้องขวนขวายหารายได้ทั้งที่ถูกกฎหมายและผิดกฎหมายเพื่อสนองตอบความสะดวกสบายจนนำไปสู่ปัญหาการลักลอบต้นไม้ขาย การลักขโมยและยาเสพติดเข้าสู่หมูบ้าน
ซึ่งผลจากปัจจัยภายนอกและปัจจัยในที่กล่าวถึงข้างต้น ทำให้ความขัดแย้งในการใช้ทรัพยากรป่าไม้ของหมู่บ้านรอบแนวเขตวนอุทยานภูสิงห์-ภูผาผึ้ง ยังคงดำรงอยู่มาจนถึงทุกวันนี้
|
Title Alternate | The persistence of the conflict regarding the use of forest resources of villages around Phu Sing - Phu Pha Phueng forest park, Amnatcharoen province |