การพัฒนาวิธีการที่รวดเร็วในการสกัดพลาสมิดโดยตรงจากโคโลนีของแบคทีเรีย

Titleการพัฒนาวิธีการที่รวดเร็วในการสกัดพลาสมิดโดยตรงจากโคโลนีของแบคทีเรีย
Publication Typeงานวิจัย/Research report
Year of Publication2552
Authorsพงศ์ศักดิ์ รัตนชัยกุลโสภณ, ปาริชาติ พุ่มขจร
Institutionคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberQH442 พ137
Keywordsดีเอ็นเอ, พันธุวิศวกรรม, โครโมโซม
Abstract

การสกัดพลาสมิดจากเซลล์ของแบคทีเรียสามารถทำได้โดยการใช้วิธีมาตรฐาน (วิธี alkaline lysis) ซึ่งเป็นวิธีที่ประหยัดค่าใช้จ่าย แต่มีขั้นตอนมาก และต้องใช้เวลานาน หรืออาจใช้ชุดทดสอบในการสกัดพลาสมิด (plasmid isolation kit) ซึ่งมีขั้นตอนไม่มาก และใช้เวลาน้อย แต่ต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก ดังนั้นในการศึกษานี้จึงได้ทำการพัฒนาวิธีการในการสกัดพลาสมิดจากเซลล์ของแบคทีเรียที่ประหยัดค่าใช้จ่าย และมีขั้นตอนที่รวดเร็ว ทั้งยังสามารถสกัดพลาสมิดได้โดยตรงจากโคโลนีของแบคทีเรียที่เจริญบนอาหารเลี้ยงเชื้อ โดยวิธีที่พัฒนาขึ้นมีขั้นตอนดังนี้ หลังจากที่ใช้ไม้จิ้มฟันที่ปลอดเชื้อ (sterile toothpick) ทำการย้ายโคโลนีของแบคทีเรียที่เจริญบนจานอาหารเลี้ยงเชื้อไปใส่ในหลอด microcentrifuge แล้ว ให้เติมสารละลาย 0.1 N NaOH, 0.5% SDS ปริมาตร 50 ไมโครลิตรลงในหลอด microcentrifuge ดังกล่าว จากนั้นทำให้โคโลนีของแบคทีเรียผสมได้ดีกับสารละลาย 0.1 N NaOH, 0.5% SDS โดยการ vortex เป็นเวลาประมาณ 5 วินาที จากนั้นวางส่วนผสมที่ได้ไว้ที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลาประมาณ 5 นาที ก่อนที่จะนำไปศึกษาด้วยวิธี agarose gel electrophoresis จากการเปรียบเทียบ การสกัดพลาสมิดโดยตรงจากโคโลนีของแบคทีเรียโดยใช้วิธีการที่พัฒนาขึ้นในการศึกษานี้ กับ การสกัดพลาสมิดโดยตรงจากโคโลนีของแบคทีเรีย โดยใช้วิธีของ Barnes และโดยใช้ชุดทดสอบจากต่างประเทศ พบว่าวิธีการที่พัฒนาขึ้นในการศึกษานี้มีค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด (ประมาณห้าสิบสตางค์ต่อการสกัดพลาสมิดจากโคโลนีของแบคทีเรียจำนวน 100 โคโลนี) ใช้เวลาค่อนข้างน้อยในการสกัดพลาสมิดแต่ละครั้ง (ประมาณ 5 นาที) และไม่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์เพิ่มเติมในการสกัดพลาสมิด

Title Alternate Development of a rapid method for plasmid extraction direct from bacterial colony