การบำบัดโลหะหนักในของเสียอันตรายจากห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ด้วยซีโอไลต์ธรรมชาติ

Titleการบำบัดโลหะหนักในของเสียอันตรายจากห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ด้วยซีโอไลต์ธรรมชาติ
Publication Typeงานวิจัย/Research report
Year of Publication2551
Authorsพรพรรณ พึ่งโพธิ์, สายสมร ลำลอง, ดวงดาว สัตยากูล
Institutionคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberTD195.H39 พ247
Keywordsของเสียอันตราย--การบำบัด, ซีโอไลต์, โลหะหนัก--การกำจัดของเสีย
Abstract

ได้ทำการวิเคราะห์โครงสร้างของซีโอไลต์ธรรมชาติซึ่งเป็นสารดูดซับที่มีประสิทธิภาพจำนวน 7 ชนิด จากจังหวัดสงขลาโดยใช้เทคนิคเอ็กซ์เรย์ดิฟแฟรคชั่นและเอ็กซ์เรย์ฟลูออเรสเซ็นต์ ผลจากการวิเคราะห์ด้วยวิธีเอ็กซ์เรย์ดิฟแฟรคชั่นพบว่าโครงสร้างของซีโอไลต์ธรรมชาติสอดคล้องกับสารประกอบ Mordenite, Potassium Magnesium Aluminum Silicate Hydroxide, Kaolinite-1Md, Kaolinite-1A, Calcium Aluminium Silicate Hydrate, Clinoptiolite-Ca และ Heulandite-Ca ตามลำดับ และผลจากการวิเคราะห์ด้วยวิธีเอ็กซ์เรย์ฟลูออเรสเซนส์ ทำให้ทราบเปอร์เซ็นต์ของธาตุที่เป็นองค์ประกอบของซีโอไลต์นี้ ซึ่งสามารถยืนยันข้อมูลทางโครงสร้างที่ได้จากวิธีเอ็กซ์เรย์ดิฟแฟรคชั่นจากนั้นได้ทำการศึกษาความสามารถของซีโอไลต์ธรรมชาติทั้ง 7 ชนิด ในการดูดซับอิออนของโลหะหนัก คือ แคดเมียม แมงกานีส สังกะสี และโครเมียม จากสารละลายในระดับปฏิบัติการ ผลการศึกษาพบว่ามีซีโอไลต์ธรรมชาติสามชนิดคือ Kaolinite-1Md, Heulandite-Ca และ Mordenite เป็นตัวดูดซับอิออนของโลหะที่มีประสิทธิภาพสูง โดย Kaolinite-1Md มีประสิทธิภาพสูงมากในการกำจัดโลหะหนักทุกชนิดออกจากสารละลายได้ Heuladite-Ca มีประสิทธิภาพในการดูดซับแคดเมียม แมงกานีส สังกะสี ได้ดีมาก แต่มีประสิทธิภาพในการดูดซับโครเมียมได้น้อย ในขณะที่ Mordenite มีประสิทธิภาพในการดูดซับโครเมียมได้สูงที่สุด โดยได้ทำการศึกษาพารามิเตอร์ที่เหมาะสมในการดูดซับของซีโอไลต์แต่ละชนิดด้วย จากการศึกษา ไอโซเทอร์มของการดูดซับ พบว่า การดูดซับอิออยของโลหะหนักทุกชนิดด้วยซีโอไลต์ธรรมชาติสอดคล้องตามแลงเมียร์ไอโซเทอร์มมากกว่าฟรอยลิซไอโซเทอร์ม จากนั้นได้ประยุกต์ใช้ซีโอไลต์ธรรมชาติทั้งสามชนิดนี้ในการดูดซับโลหะหนักที่ปนเปื้อนในของเสียอันตรายจากห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ ผลการศึกษาพบว่า การใช้ซีโอไลต์ธรรมชาติทั้งสามชนิดนี้ประสบความสำเร็จในกระบวนการบำบัดโลหะหนักจากของเสียอันตรายดังกล่าว ดังนั้นผลจากการวิจัยนี้เป็นข้อมูลสำคัญต่อการประยุกต์ใช้ซีโอไลต์ธรรมชาติเป็นตัวดูดซับโลหะหนักที่ปนเปื้อนในสารละลายที่มีประสิทธิภาพสูง และสามารถนำไปใช้ในการบำบัดของเสียอันตรายที่มีโลหะหนักปนเปื้อน เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการบำบัดน้ำทิ้ง เนื่องจากเป็นวัสดุที่มีราคาถูกและหาได้ง่ายในธรรมชาติทั้งยังเป็นกระบวนการบำบัดทางเคมีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้วย

Title Alternate Heavy metal removal of scientific laboratory hazardous wastes using natural zeolites
Fulltext: