การศึกษาฤทธิ์ต้านไวรัสของ flavonoids จากสมุนไพรพื้นบ้าน จังหวัดอุบลราชธานี วงศ์ Leguminosae

Titleการศึกษาฤทธิ์ต้านไวรัสของ flavonoids จากสมุนไพรพื้นบ้าน จังหวัดอุบลราชธานี วงศ์ Leguminosae
Publication Typeงานวิจัย/Research report
Year of Publication2551
Authorsพรรณรัตน์ อกนิษฐาภิชาติ
Institutionคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberRM666.H33 พ266
Keywordsการรักษาด้วยสมุนไพร, ฟลาโวนอยด์, สารต้านไวรัส, โรคเกิดจากไวรัส--การรักษาด้วยสมุนไพร
Abstract

สมุนไพรพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานี Leguminosae จำนวน 9 ต้น ได้แก่ Acacia comosa Gagnep. (หนามหัน), Bauhinia malabarica Roxb. (ส้มเสี้ยว), Dendrolobium lanceolatum Schindl. (ดูกอึ่ง), Desmodium heterocarpon (L.) D.C (หญ้ามดลิ่น), Entada glandulosa Pierre ex. Gagnep. (บ้าบน), Phyllodium pulchellum (Benth.) Desv. (กาสามปีก), Sesbania glandiflora Desv. (แคบ้าน), Spatholobus parviflorus Roxb. Ex O. Ktzc. (จานเครือ), Tadehagi godefroyanum (O. Ktzc.) Ohashi (ตองหมอง) ถูกคัดเลือกมาศึกษาฤทธิ์ต้านไวรัสเริมชนิด herpes simplex ประเภท 1 (HSV-1) และฤทธิ์ต้านไวรัสตับอักเสบบี การศึกษาฤทธิ์ต้าน HSV-1 ด้วยวิธี plaque reduction และฤทธิ์ความเป็นพิษต่อเซลล์ที่ใช้เลี้ยงไวรัสด้วยวิธี colorimetric จากการศึกษาพบว่า สารสกัดหยาบเมทานอลที่ได้จากใบของส้มเสี้ยว (BLM) และจากลำต้นจานเครือ (SPSM) มีศักยภาพในการต้าน HSV-1 ดีที่สุด (IC50=63 และ 92 µg/mL ตามลำดับ, CC50>300 µg/mL และ SI>3.3) เมื่อนำสารสกัดหยาบ BLM และ SPSM ไปทำให้บริสุทธิ์ยิ่งขึ้นด้วย column chromatography พบว่า ฟลาโวนอยด์ 3 ชนิด ที่แยกได้จาก BLM คือ quercetin, quercetin rhamnoside และ quercetin glucoside ซึ่งล้วนมีฤทธิ์ต้าน HSV-1 (ยกเว้น quercetin glucoside) สารสกัดกึ่งบริสุทธิ์จำนวน 9 ชนิด มีฤทธิ์ต้าน HSV-1 และมีดัชนีเฉพาะเจาะจงต่อการมีฤทธิ์ต้านไวรัส (selectivity index) สูง โดยสารสกัดกึ่งบริสุทธิ์ที่มีฤทธิ์ต้าน HSV-1 ดีที่สุดและ SI สูงสุดเป็นสารสกัดที่แยกได้จาก SPSM (IC50=11 µg/mL และ SI>36)
ผลการศึกษาฤทธิ์ต้านไวรัสตับอักเสบบีของสารสกัดหยาบเมทานอลจำนวน 16 ชนิด พบว่า มีความเข้มข้น 240 µg/mL สารสกัดหยาบจำนวน 4 ชนิด มีฤทธิ์ยับยั้ง HBsAg ได้ 40-50% แม้ว่าสารสกัดหยาบส่วนใหญ่มีฤทธิ์ยับยั้ง HBsAg ได้ ≤20%

Title Alternate A study on Antiviral Activity of Flavonoids Isolated from Ubonratchathani Medicinal Plants in Leguminosae
Fulltext: