อิทธิพลของถ่านและน้ำส้มควันไม้ต่อคุณสมบัติแผ่นยางพารา

Titleอิทธิพลของถ่านและน้ำส้มควันไม้ต่อคุณสมบัติแผ่นยางพารา
Publication Typeงานวิจัย/Research report
Year of Publication2551
Authorsพุทธพร แสงเทียน, สุกัญญา ศรีสง่า, ณัฐยา พูนสุวรรณ
Institutionคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberTP331 พ829
Keywordsถ่านไม้--การผลิต--ผลพลอยได้, น้ำส้มควันไม้, ยางพารา
Abstract

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาอิทธิพลของน้ำส้มควันไม้และผงถ่านที่มีผลต่อคุณสมบัติของยางแผ่นโดยมีการทดสอบคุณสมบัติเชิงกลดังนี้ คือ การทดสอบหาค่าคุณสมบัติความแข็ง (Hardness Test), การทดสอบหาค่าคุณสมบัติการยืดตัว (Tensile Test) และ การทดสอบหาค่าคุณสมบัติการทนต่อแรงฉีกขาด (Tear Test)
สำหรับงานวิจัยในส่วนแรกเป็นการศึกษาอิทธิพลของน้ำส้มควันไม้ต่อคุณสมบัติยางแผ่น เราแปรผันอัตราส่วนเชิงปริมาณของกรดฟอร์มิกต่อน้ำส้มควันไม้ (มิลลิลิตร:มิลลิลิตร) ในปริมาณดังนี้ 200:0, 160:40, 120:80, 80:120, 40:160 และ 0:200 โดยใช้สัญลักษณ์เป็น Standard F200W0 (แผ่นยางมาตรฐาน), F160W40, F120W80, F80W120, F40W160 และ F0W200 ตามลำดับ ผลการทดสอบค่า Hardness พบว่า การผสมน้ำส้มควันไม้ลงไปในทุกอัตราส่วนจะทำให้มีค่าความแข็ง (Hardness) เพิ่มขึ้นกว่าแผ่นยางมาตรฐาน (F200W0) ผลการทดสอบ Tensile พบว่า แผ่นยาง F80W120 ให้ค่า Elongation@Peak และ Elongation@Break ที่สูงกว่าแผ่นยางมาตรฐาน คือ 313.39 mm และ 323.32 mm ตามลำดับ นั่นคือมีคุณสมบัติการยืดดีกว่าแผ่นยางมาตรฐาน และยังสามารถลดการใช้กรดฟอร์มิกลงได้อีกด้วย ผลการทดสอบค่า Tear พบว่า แผ่นยาง F120W80 และแผ่นยาง F40W160 มีค่า Force@Peak, Stress@Peak, Strain@Peak สูงกว่าแผ่นยางมาตรฐาน นั่นคือ มีความทนทานต่อการฉีกขาดได้ดี ในขณะที่แผ่นยาง F80W120 ที่มีคุณสมบัติในการยืดค่อนข้างสูง ก็มีผลการทนทานต่อแรงฉีกขาดไม่ค่อยแตกต่างจากแผ่นยางมาตรฐานมากนัก
สำหรับงานวิจัยในส่วนที่สองเป็นการศึกษาอิทธิพลของผงถ่านไม้ไผ่ที่มีต่อคุณสมบัติเชิงกลของแผ่นยางพารา โดยมีขนาดของผงถ่านสามารถแบ่งปริมาณที่ใช้เติมในน้ำยางดิบได้ดังนี้ 1%=2g, 3%=6g, 5%=10g, 7%=14g, 10%=20g, 15%=30g ผลการวิจัยพบว่าขนาดและปริมาณของผงถ่านที่มีส่วนในการปรับปรุงคุณภาพยางแผ่นที่ทำให้มีสมบัติที่สูงกว่าแผ่นยางมาตรฐานมี 2 ขนาด คือ ผงถ่านขนาด 150-212 µm และผงถ่านขนาด 106-125 µm โดยปริมาณที่เติมค่อนข้างหลากหลาย แต่ในภาพรวมแล้วพบว่าการเติมที่ปริมาณ 7% และ 10% จะให้ผลค่อนข้างดีที่สุดเมื่อเทียบกับแผ่นยางมาตรฐาน

Title Alternate Effect of carbon black and wood vinegar on natural rubber sheet properties