Title | การมีส่วนร่วมของสมาชิกประชาคมหมู่บ้านในการแก้ไขปัญหายาเสพติด : กรณีศึกษา อำเภอดอนมดแดง จังหวัดอุบลราชธานี |
Publication Type | วิทยานิพนธ์/Thesis |
Year of Publication | 2552 |
Authors | วสุรุจ สามารถ |
Degree | รัฐศาสตรมหาบัณฑิติ -- สาขาวิชาการปกครอง |
Institution | คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี |
City | อุบลราชธานี |
Call Number | HV ว363 |
Keywords | ยาเสพติด--การควบคุม--การมีส่วนร่วมของประชาชน, ยาเสพติด--การควบคุม--อุบลราชธานี |
Abstract | การศึกษาวิจัยเรื่อง การมีส่วนร่วมของสมาชิกประชาคมหมู่บ้านในการแก้ไขปัญหายาเสพติด : กรณีศึกษา อำเภอดอนมดแดง จังหวัดอุบลราชธานี มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยและระดับการมีส่วนร่วมของสมาชิกประชาคมหมู่บ้านในการแก้ไขปัญหายาเสพติด 2)ศึกษาระดับสาเหตุปัญหาการมีส่วนร่วมของสมาชิกประชาคมหมู่บ้านในการแก้ปัญหายาเสพติด 3)ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยและระดับการมีส่วนร่วมของสมาชิกประชาคมหมู่บ้านในการแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์เชิงลึกเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างใช้การเลือกแบบเจาะจงจากกำนันประจำตำบลของหมู่บ้านต้นแบบในการแก้ไขปัญหายาเสพติดในอำเภอดอนมดแดง จำนวน 4 ตำบล ๆ ละ 1 คน และผู้ทรงคุณวุฒิ 2 คน รวม 6 คน
การเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างใช้การเลือกแบบเจาะจงจากตัวแทนสมาชิกประชาคมหมู่บ้านจากหมู่บ้านต้นแบบในการแก้ไขปัญหายาเสพติด จำนวน 4 ตำบล ๆ ละ 1 หมู่บ้าน ได้แก่ ตัวแทนฝ่ายบริหาร 12 คน ตัวแทนฝ่ายกลุ่มประชาชน 12 คน ตัวแทนฝ่ายผู้ประกอบการหรือองค์กรพัฒนาเอกชนในหมู่บ้าน 12 คน และสมาชิกประชาคมหมู่บ้าน 102 คน รวม 138 คน
การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้วิธีวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ซึ่งเป็นการวิเคราะห์เชิงบรรยาย (Descriptive) และเชิงเนื้อหา (Content Analysis) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ t-test, F-test
ผลการศึกษาสรุปได้ ดังนี้
1.ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 54.3 อายุระหว่าง 45-49 ปี มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 37.7 อายุระหว่าง 15-29 ปีน้อยที่สุด คิดเป็นร้อยละ 5.8 สำเร็จการศึกษา ระดับประถมศึกษามากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 68.8 สำเร็จการศึกษาระดับอนุปริญญาน้อยที่สุด คิดเป็นร้อยละ 0.7 ประกอบอาชีพเกษตรกรรมมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 73.2 ประกอบอาชีพรับราชการน้อยที่สุด คิดเป็นร้อยละ 2.2 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่า 3000 บาทมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 58.0 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนมากกว่า 15000 บาทน้อยที่สุด คิดเป็นร้อยละ 0.7 เป็นตัวแทนฝ่ายบริหาร ฝ่ายกลุ่มประชาชน ฝ่ายผู้ประกอบการ จำนวนเท่ากัน คิดเป็นร้อยละ 8.7 เป็นสมาชิกประชาคมหมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 73.9
2.ระดับการมีส่วนร่วมของสมาชิกประชาคมหมู่บ้านในการแก้ไขปัญหายาเสพติด ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ระดับการมีส่วนร่วมด้านการค้นหาปัญหา ด้านการตรวจสอบติดตามผล และด้านการดำเนินการ สมาชิกประชาคมหมู่บ้านมีส่วนร่วมอยู่ในระดับมาก สำหรับด้านการวางแผนสมาชิกประชาคมหมู่บ้านมีส่วนร่วมอยู่ในระดับปานกลาง
3. ระดับสาเหตุในการแก้ไขปัญหายาเสพติดของสมาชิกประชาคมหมู่บ้านในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า สาเหตุปัญหาด้านหน่วยงาน/องค์กรที่เกี่ยวข้อง และด้านประชาชน อยู่ในระดับปานกลาง สำหรับสมาชิกประชาคมหมู่บ้าน อยู่ในระดับน้อย
4.ปัจจัยที่ไม่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของสมาชิกประชาคมหมู่บ้านในการแก้ไขปัญหายาเสพติด คือ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ และตำแหน่ง/สถานภาพในหมู่บ้าน ส่งผลต่อการที่ส่วนร่วมของสมาชิกประชาคมหมู่บ้านในการแก้ไขปัญหายาเสพติดไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
5.ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของสมาชิกประชาคมหมู่บ้านในการแก้ปัญหายาเสพติดคือ สาเหตุปัญญาหารมีส่วนร่วมแก้ไขปัญหายาเสพติดของสมาชิกประชาคมหมู่บ้าน ความต้องการแก้ไขปัญหายาเสพติดของสมาชิกประชาคมหมู่บ้าน ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาคมหมู่บ้านในการแก้ไขปัญหายาเสพติดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
|
Title Alternate | The participation of members of village communities in solving drug addiction problems : a case study of Amphoe Don Motdaeng, Ubon Ratchathani provinc |