Title | การประเมินผลโครงการหมู่บ้านสร้างเสริมสุขภาพตามแนวพระราชดำรัสเศรษฐกิจพอเพียง บ้านศรีไคออก หมู่ที่ 4 ตำบลเมืองศรีไค อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี |
Publication Type | วิทยานิพนธ์/Thesis |
Year of Publication | 2552 |
Authors | สุชาฎา ไกรพันธ์ |
Degree | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต--สาขาวิชาสังคมศาสตร์และการพัฒนา |
Institution | คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี |
City | อุบลราชธานี |
Call Number | RC ส758ก |
Keywords | การพัฒนาชุมชน--อุบลราชธานี, การส่งเสริมสุขภาพ--อุบลราชธานี, เศรษฐกิจพอเพียง--อุบลราชธานี |
Abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อประเมินผลการดำเนินโครงการหมู่บ้านสร้างเสริมสุขภาพตามแนวพระราชดำรัสเศรษฐกิจพอเพียง บ้านศรีไคออก หมู่ที่ 4 ตำบลเมืองศรีไค อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี 2) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและอุปสรรคของโครงการหมู่บ้านสร้างเสริมสุขภาพตามแนวพระราชดำรัสเศรษฐกิจพอเพียง บ้านศรีไคออก 3) เพื่อศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคของโครงการหมู่บ้านสร้างเสริมสุขภาพตามแนวพระราชดำรัสเศรษฐกิจพอเพียง บ้านศรีไคออก สำหรับประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย ผู้นำชุมชนและสมาชิกผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 202 คน
ผลการศึกษาพบว่า ผลการดำเนินงานของโครงการ บรรลุตัวชี้วัดแต่ละวัตถุประสงค์มากกว่าร้อยละ 90 และสร้างแรงกระตุ้นให้หมู่บ้านได้เห็นความสำคัญของการสร้างเสริมสุขภาพภายใต้หลักเศรษฐกิจพอเพียง สัมพันธภาพที่ดีของผู้คนในหมู่บ้านมีเพิ่มมากขึ้นและเกิดความกระตือรือร้นในการเข้าร่วมกิจกรรมแต่ละกิจกรรม เป็นปัจจัยเสริมด้านบวกต่อการพัฒนาหมู่บ้านด้านอื่น ๆ เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในด้านสุขภาวะ กลุ่มผู้เข้าร่วมโครงการมีความพยายามที่จะพัฒนาตนเองให้มีสุขภาวะที่ดี มีจำนวนผู้ปลูกผักสวนครัวไว้บริโภคในครัวเรือนเพิ่มมากขึ้น และได้รับความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐ ท้องถิ่น และภาคประชาสังคม ในการขับเคลื่อนผ่านกิจกรรมโครงการหมู่บ้านสร้างเสริมสุขภาพตามแนวพระราชดำรัสเศรษฐกิจพอเพียง เป็นมิติใหม่ในการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างหมู่บ้านกับองค์กรภายนอก จากผลการดำเนินโครงการหมู่บ้านได้ปฏิญญาหมู่บ้านว่าด้วยการสร้างเสริมสุขภาพ จำนวน 1 ฉบับ ได้บุุุคคลต้นแบบที่เป็นแบบอย่าง ด้านการดูแลสุขภาพ จำนวน 22 คน เกิดกลุ่มหมอลำรักษ์สุขภาพ จำนวน 1 กลุ่ม ซึ่งมีการออกกำลังกายและมีการฝึกซ้อมอย่างต่อเนื่อง และจากการดำเนินงานด้านการจัดกิจกรรมรณรงค์เพื่อการออมทรัพย์ ทำให้หมู่บ้านมีธนาคารสัจจะออมทรัพย์ของหมู่บ้าน จำนวน 1 แห่ง ซึ่งมีเงินทุนหมุนเวียนประมาณ 2,000,000 บาท
ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน พบว่าในส่วนของปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานของโครงการ โดยส่วนใหญ่ประสบอุปสรรคในด้านทีมงานและสมาชิกที่มีเวลาว่างในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ น้อย อันมีสาเหตุมาจากการประกอบอาชีพทำนาที่ต้องเพาะปลูกและเก็บเกี่ยวให้ทันฤดูกาล และการจัดกิจกรรมมีความถี่มาก และจัดกิจกรรมบ่อยมาก แม้จะมีผลดีต่อการเรียนรู้และการพัฒนาแต่ก็ทำให้คณะกรรมการบริหารงาน และผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความเมื่อยล้าทั้งจากการประกอบอาชีพและการจัดกิจกรรม
|
Title Alternate | The evaluation of the health promotion village project in line with sufficient economy under the royal initiative baan See Kai Auk, Moo 4, Mueng See Kai, Warinchamrab, Ubon Ratchathani |