การศึกษาฤทธิ์ต้านปฏิกิริยาออกซิเดชันและฤทธิ์แก้ปวดของพืชสมุนไพร Curcuma cf.comosa Roxb.

Titleการศึกษาฤทธิ์ต้านปฏิกิริยาออกซิเดชันและฤทธิ์แก้ปวดของพืชสมุนไพร Curcuma cf.comosa Roxb.
Publication Typeงานวิจัย/Research report
Year of Publication2548
Authorsสุภารัตน์ คำแดง, ปรีชา บุญจูง, จารุวรรณ์ วงบุตรดี
Institutionคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberRS164 ส837
Keywordsพืชสมุนไพร, พืชสมุนไพร--เภสัชฤทธิ์วิทยา, สมุนไพร--เภสัชวิทยา
Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาฤทธิ์ต้านปฏิกิริยาออกซิเดชัน ฤทธิ์แก้ปวด และศึกษาความเป็นพิษเบื้องต้นของส่วนสกัดว่านหมาว้อชั้น methanol, ethyl acetate และ hexane ศึกษาฤทธิ์ต้านปฏิกิริยาออกซิเดชันโดยใช้ DPPH assay และฤทธิ์ยังยั้งการเกิด lipid peroxidation โดยใช้สาร curcumin เป็นสารมาตรฐาน ศึกษาฤทธิ์แก้ปวดในหนูถีบจักรที่เหนี่ยวนำให้เกิดอาการปวด และฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของ cyclooxygenase (COX) โดยเทียบกับ ibuprofen และ cucuminoid ผลการศึกษาพบว่า ส่วนสกัดว่านหมาว้อชั้น ethyl acetate มีความสามารถในการเป็นตัวจับอนุมูลอิสระ และยับยั้งการเกิด lipid peroxidation ได้ดีที่สุด โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 16.51 และ 29.49 microgram/ml ตามลำดับ รองลงมาคือ ส่วนสกัดชั้น methanol ที่มีค่า IC50 เท่ากับ 18.96 และ 36.91 microgram/ml ตามลำดับ ส่วนสกัดชั้น hexane มีฤทธิ์ต้านปฏิกิริยาออกซิเดชันอ่อน ศึกษาฤทธิ์แก้ปวดในหนูถีบจักรเพศผู้และเพศเมียโดยใช้ hot plate test เพื่อหาเวลาที่เริ่มปวด (reaction time) และวิธี acetic acid induce writhing เพื่อหาจำนวนครั้งของการบิดตัวภายใน 30 นาที ผลการศึกษาพบว่า ระยะเวลาที่ส่วนสกัดว่านหมาว้อ เริ่มออกฤทธิ์ในการลดปวดคือ 60 นาที และมีฤทธิ์อยู่ได้นาน 180 นาที ส่วนสกัดว่านหมาว้อในตัวทำละลายทั้งสามชนิดเพ่ิมค่า reaction time และลดจำนวนครั้งของการปวดเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม และมีค่าใกล้เคียงกับ ibuprofen และ curcuminoid ส่วนสกัดว่านหมาว้อในตัวทำละลายทั้งสามชนิด ibuprofen และ curcuminoid ที่ความเข้มข้น 50 microgram/ml มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ COX-I และ COX-II ผลารศึกษษพิษเฉียบพลันพบว่า ส่วนสกัดว่านหมาว้อไม่มีความเป็นพิศในหนูถีบจักรเพศผู้ และมีความปลอดภัยในหนูถีบจักรเพศเมียเมื่อให้ส่วนสกัดทางปาก แต่เมื่อให้ส่วนสกัดโดยการฉีดเข้าช่องท้องจัดว่ามีพิษเล็กน้อย ผลการศึกษาพิษกึ่งเรื้อรังพบว่า ส่วนสกัดว่านหมาว้อชั้น methanol ทำให้น้ำหนักตัวของหนูถีบจักรต่ำกว่ากลุ่มควบคุม ส่วนหนูถีบจักรเพศผู้ที่ได้รับส่วนสกัดว่านหมาว้อชั้น ethyl acetate มีน้ำหนักเพิ่มขึ้น ส่วนสกัดว่านหมาว้อทั้งสามชั้นมีผลทำให้ตับของสัตว์ทดลองมีขนาดโตขึ้น และม้ามมีขนาดเล็กลง ระดับ ALT, AST และ Cr ในเลือดไม่มีความแตกต่างกันระหว่างกลุ่มที่ได้รับส่วนสกัดและกลุ่มควบคุม ระดับ BUN ลดลงเล็กน้อย แต่ระดับ ALP เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

Title Alternate A study on antioxidative and analgesic activities of a herbal plant, Curcuma cf.comosa Roxb.
Fulltext: