การเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิตเตาหุงต้มประสิทธิภาพสูง กรณีศึกษา : โรงงานเตาสาทิตย์

Titleการเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิตเตาหุงต้มประสิทธิภาพสูง กรณีศึกษา : โรงงานเตาสาทิตย์
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2552
Authorsสุรจอม ลิ้มสุวรรณ
Degreeวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต--สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
Institutionคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberTS ส847
Keywordsเตา--การทดสอบ, เตา--การออกแบบและการสร้าง
Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความเป็นมาของสภาพปัญหาและการปรับตัวของชาวบ้านปากมูลภายใต้การเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศ อันเป็นเงื่อนไขสำคัญที่ผลักดันให้เกิดขบวนการเคลื่อนไหวต่อรองเรื่องเปิด-ปิดประตูระบายน้ำเขื่อนปากมูลและเพื่อศึกษากลยุทธ์ในการเคลื่อนไหวต่อรองเรื่องเปิด-ปิดประตูระบายน้ำเขื่อนปากมูล และทำความเข้าใจถึงกลไกในการจัดความสัมพันธ์เชิงอำนาจในการตอบโต้ ต่อรองกับกลุ่มอำนาจต่าง ๆ ภายใต้สถานการณ์ความขัดแย้งในการแย่งชิงทรัพยากร โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ และเก็บข้อมูลภาคสนาม การสนทนากลุ่มย่อย การสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนาอย่างไม่เป็นทางการ รวมทั้งข้อมูลประสบการณ์จากการเข้าร่วมสังเกตการณ์ในโอกาสต่าง ๆ
ผลการศึกษาพบว่า หลังจากการสร้างเขื่อนปากมูล ระบบนิเวศแม่น้ำมูลได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง และส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของชาวบ้านและชุมชน เนื่องด้วยระบบนิเวศแม่น้ำมูล มีความสัมพันธ์กับวิถีชีวิตชุมชนของชาวบ้านปากมูลเป็นอย่างมาก เป็นชุมชนคนหาปลามาแต่ดั้งเดิม เมื่อมีการสร้างเขื่อนปากมูลขวางกั้นเส้นทางการอพยพของปลา จึงส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตชุมชนในทุก ๆ ด้าน เช่น รายได้ลดลง ปัญหาความขัดแย้งระหว่างชาวบ้านกันเองและระหว่างชาวบ้านกับรัฐ และการปรับตัวของชาวบ้านเพื่อการดำรงชีวิตอยู่รอดอย่างมีความสุขนั้น มีข้อจำกัดอยู่มากทั้งจากเงื่อนไขวัฒนธรรมภายในที่ชาวบ้านมีต้นทุนทางสังคมและทุนทางธรรมชาติที่ผูกพันกับวิถีการดำรงชีพแบบเดิม และปัจจัยภายนอกเช่นโอกาสทางเลือกในการประกอบอาชีพใหม่ที่ต้องใช้ต้นทุนสูงไม่ว่าจะเป็นทักษะในการประกอบอาชีพใหม่ ปัจจัยการผลิตและอื่น ๆ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นข้อจำกัดในการปรับเปลี่ยนวิถีในการดำรงชีวิต
ดังนั้นเป้าหมายในการเคลื่อนไหวต่อรองของชาวบ้านปากมูล คือ การเปิดประตูระบายเขื่อนปากมูลอย่างถาวร ซึ่งชาวบ้านปากมูลได้ใช้กลยุทธ์ในการเคลื่อนไหวหลากหลายรูปแบบทั้งภาคปฏิบัติการ เช่น การเดินขบวนร้องทุกข์ การชุมนุมยืดเยื้อไม่ย่นย่อ ทั้งในระดับพื้นที่และที่หน้าทำเนียบรัฐบาล รวมทั้งการติดตามการแก้ปัญหาแบบเกาะติดสถานการณ์ตลอดเวลา และการยกระดับการเคลื่อนไหวต่อรอง โดยใช้วาทกรรมช่วงชิงพื้นที่ทางสังคม การเมืองในหลายโอกาส เช่น การสร้างเครือข่ายพันธมิตรทั้งภายและภายนอกประเทศ การผลิตความรู้ผ่านงานวิจัยไทบ้านและนักวิชาการ แต่ยังไม่สามารถต่อรองให้มีการเปิดประตูน้ำเขื่อนปากมูลอย่างถาวรได้ ทั้งนี้เป็นเพราะรัฐมองปัญหาเรื่องเขื่อนปากมูลว่าเป็นการเมืองเรื่องของการต่อรอง การเคลื่อนไหวต่อรองของชาวบ้านปากมูลเพื่อเปิด-ปิดประตูระบายน้ำเขื่อนปากมูลนั้น ถือเป็นปรากฎการณ์ทางสังคมที่ซับซ้อน โดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิต และผลกระทบจากการสร้างเขื่อนปากมูลต่อการดำรงชีวิตของชาวประมงพื้นบ้าน หรือการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศที่มีความสำคัญกับมนุษย์

Title Alternate Efficiency improvement of the high efficiency cooking stove process case study: Sathit factory