Title | อุบัติการณ์โรคมาลาเรีย และการวิเคราะห์เชิงพื้นที่แบบลำดับขั้น เพื่อวางแผนและป้องกันในพื้นที่ลุ่มน้ำโขง จังหวัดอุบลราชธานี |
Publication Type | งานวิจัย/Research report |
Year of Publication | 2558 |
Authors | วัชรพงษ์ แสงนิล, จารุวรรณ์ วงบุตดี, สุริยง แผลงงาม |
Institution | วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี |
City | อุบลราชธานี |
Call Number | RA644.M2 ว378อ 2558 |
Keywords | การวิเคราะห์เชิงพื้นที่, มาลาเรีย, มาลาเรีย--การป้องกันและควบคุม--อุบลราชธานี, ลุ่มน้ำโขง, สาธารณสุข--อุบลราชธานี |
Abstract | มาลาเรียเป็นปัญหาสำคัญทางการแพทย์และสาธารณสุขในพื้นที่ลุ่มน้ำโขง จังหวัดอุบลราชธานี การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาอุบัติการณ์และการระเบิดเชิงพื้นที่ของโรคมาลาเรีย 2)ประยุกต์ใช้ข้อมูลรีโมทเซ็นซิ่งและข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการวิเคราะห์หาพื้นที่เสี่ยงต่อโรคมาลาเรีย 3)ศึกษาการรับรู้และพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคมาลาเรีย และความสัมพันธ์ในพื้นที่เสี่ยงต่อโรคมาลาเรีย รวบรวมข้อมูลจำนวนผู้ป่วยรายหมู่บ้าน 3 ปี (2555-2557) เชื่อมโยงกับตำแหน่งหมู่บ้านให้เป็นข้อมูลสัมพันธ์เชิงพื้นที่ นำข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม Landsat 8 ทำการจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดินจากการวิเคราะห์ดีชะนีพืชพรรณ (NDVI) ด้วยเทคนิคแบบกำกับดูแล (Supervised Classification) แบบ Maximum Likelihood กำหนดปัจจัยเสี่ยงต่อโรคมาลาเรีย 5 ปัจจัย คือ 1)การใช้ประโยชน์ที่ดินประกอบด้วย พื้นที่ป่าไม้/ทำไร่ พื้นที่การเกษตร แหล่งน้ำพื้นที่อยู่อาศัย และพื้นที่อื่น ๆ 2) ความหนาแน่นของจำนวนผู้ป่วยในแต่ละหมู่บ้านต่อพื้นที่ตารางกิโลเมตร 3) ปริมาณน้ำฝน 4) ระยะการบิน 2 กิโลเมตรของยุงพาหะในแต่ละหมู่บ้านที่พบผู้ป่วย และ 5)อุณหภูมิ จากนั้นให้ค่าคะแนนและค่าน้ำหนักของแต่ละปัจจัยเข้าสู่กระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลศักยภาพเชิงพื้นที่ (PSA) และแบบลำดับขั้น (AHP) เพื่อทำการวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงต่อโรคมาลาเรีย จากนั้นทำการคัดเลือกหมู่บ้านที่มีความเสี่ยงมากที่สุดจำนวน 1 หมู่บ้าน และหมู่บ้านที่ไม่มีความเสี่ยง จำนวน 1 หมู่บ้าน ทำการเก็บข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์การรับรู้และพฤติกรรมการป้องกันต่อโรคมาลาเรียจำนวน 169 หลังคาเรือน ผลการศึกษาพบว่ามีพื้นที่เสี่ยงสูง 309.43 ตารางกิโลเมตร (14.21% ของพื้นที่ทั้งหมด) พื้นที่เสี่ยงปานกลาง 1,571.26 ตารางกิโลเมตร (72.18%) อำเภอในลุ่มน้ำโขง จังหวัดอุบลราชธานี พบพื้นที่เสี่ยงสูงที่อำเภอโพธิ์ไทร 99.61 ตารางกิโลเมตร (4.58%) รองลงมาคือ อำเภอโขงเจียม 73.23 ตารางกิโลเมตร (3.36%) และอำเภอศรีเมืองใหม่ 50.83 ตารางกิโลเมตร (2.33%) ระดับการรับรู้เกี่ยวกับโรคมาลาเรียของกลุ่มตัวอย่างพบว่า บ้านหุ่งหลวงส่วนใหญ่อยู่ระดับสูง ร้อยละ 86.3 ระดับปานกลาง ร้อยละ 11.3 และบ้านเพนียดมีระดับการรับรู้อยู่ในระดับสูงร้อยละ 87.5 ระดับปานกลาง ร้อยละ 12.5 สำหรับพฤติกรรมการป้องกันโรคมาลาเรียของกลุ่มตัวอย่างพบว่าบ้านหุ่งหลวง ส่วนใหญ่อยู่ในระดับสูง ร้อยละ 50.7 ระดับปานกลาง ร้อยละ 49.3 และบ้านเพนียดมีระดับพฤติกรรมอยู่ในระดับสูงร้อยละ 57.3 ระดับปานกลาง ร้อยละ 42.7 |
Title Alternate | Malaria incidence, spatial analysis and hierarchy process for planning and control in Mekong basin, Ubon Ratchathani province |