การพัฒนาความเข้าใจมโนมติวิทยาศาสตร์ เรื่อง สารละลายด้วยการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

Titleการพัฒนาความเข้าใจมโนมติวิทยาศาสตร์ เรื่อง สารละลายด้วยการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2558
Authorsนวลอนงค์ แก้ววงษ์
Degreeวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต--สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา
Institutionคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberQ น349 2558
Keywordsการจัดการเรียนการสอน, การสอนวิทยาศาสตร์, วิทยาศาสตร์--การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา), สารละลาย
Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนาความเข้าใจมโนมติวิทยาศาสตร์ เรื่อง สารละลายด้วยการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนเอือดใหญ่พิทยา จำนวน 35 คน จากการวิเคราะห์มโนมติวิทยาศาสตร์แล้วจำแนกเป็นมโนมติถูกต้องมโนมติคาดเคลื่อน และมโนมติผิด พบว่า นักเรียนมีร้อยละของมโนมติก่อนเรียนในแต่ละกลุ่มเป็น 0.00, 47.33 และ 52.67 ตามลำดับและร้อยละของมโนมติหลังเรียนในแต่ละกลุ่มเป็น 73.42, 14.85 และ 11.73 ตามลำดับ โดยนักเรียนมีมโนมติถูกต้องเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 73.42 และมีมโนมติคลาดเคลื่อนและมโนมติผิดลดลงคิดเป็นร้อยละ 32.48 และ 40.94 ตามลำดับ นักเรียนมีร้อยละของมโนมติในการทดสอบความคงทนของมโนมติแต่ละกลุ่มเป็น 73.42, 14.85 และ 11.73 ตามลำดับ จากการทดสอบค่าทีแบบกลุ่มตัวอย่างไม่อิสระต่อกัน พบว่า นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยมโนมติหลังเรียน (ค่าเฉลี่ย 49.16, ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 10.17) สูงกว่าก่อนเรียน (ค่าเฉลี่ย 14.86, ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 3.40) และสูงกว่าคะแนนความคงทนของมโนมติ (ค่าเฉลี่ย 48.51, ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 9.81) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p 0.05 แสดงว่าการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานสามารถพัฒนาความเข้าใจมโนมติวิทยาศาสตร์ เรื่อง สารละลายของนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ยังไม่สามารถทำให้นักเรียนมีความคงทนของมโนมติได้เท่าที่ควร

Title Alternate Development of scientific conceptual understanding of solution by using problem-based learning for grade 11 students