การพัฒนาตัวแบบในการบริหารสมรรถนะการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยการประยุกต์ใช้เครื่องมือทางวิศวกรรมการจัดการ

Titleการพัฒนาตัวแบบในการบริหารสมรรถนะการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยการประยุกต์ใช้เครื่องมือทางวิศวกรรมการจัดการ
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2558
Authorsภีม พรประเสริฐ
Degreeปรัชญาดุษฎีบัณฑิต--สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
Institutionคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberJS ภ577 2558
Keywordsการบริหารส่วนท้องถิ่น, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น--การบริหาร, เครื่องมือทางวิศวกรรม
Abstract

งานวิจัยนี้เป็นการนำเสนอการพัฒนาตัวแบบในการบริหารสมรรถนะการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยการประยุกต์ใช้เครื่องมือทางวิศวกรรมการจัดการ ขอบเขตในการวิจัย คือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างกลุ่ม 2 ทั้งหมด 602 แห่ง งานวิจัยเริ่มจากการทบทวนวรรณกรรมเพื่อรวบรวมตัวชี้วัด จัดระเบียบตัวชี้วัดโดยใช้เทคนิคการตัดสินใจแบบกลุ่ม และแผนภูมิเกี่ยวโยง ตัดตัวชี้วัดที่ไม่เป็นองค์ประกอบของเกณฑ์ออกโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์องค์ประกอบ หาค่าน้ำหนักของตัวชี้วัดที่เหลือโดยเทคนิคการวิเคราะห์เชิงลำดับชั้น เลือกเฉพาะตัวชี้วัดที่สำคัญมาใช้โดยใช้แนวคิดของพาเรโต หลังจากนั้นแบ่งกลุ่มองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามปัจจัยขนาดพื้นที่และจำนวนประชากร โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์ การแบ่งกลุ่มแบบเค-มีน และส่งแบบสอบถามไปยังแต่ละกลุ่มโดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม นำผลการตอบแบบสอบถามมาวิเคราะห์ผลลัพธ์ตามหลักการวัดผลทางดุลยภาพและประเมินประสิทธิภาพเชิงเทคนิคโดยวิธีการวิเคราะห์ เชิงโอบล้อมข้อมูล จากนั้นคัดเลือกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีแนวปฏิบัติที่ดีเลิศมาเป็นต้นแบบวิธีปฏิบัติให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในกลุ่มถอดแบบเพื่อเทียบเคียงสมรรถนะ ผลการทดลองพบว่าตัวชี้วัดทั้งหมดหลังใช้เทคนิคการตัดสินใจแบบกลุ่มและแผนภูมิเกี่ยวโยงมีทั้งหมด 93 ตัวชี้วัด หลังจากวิเคราะห์องค์ประกอบและจัดลำดับความสำคัญแล้วเหลือตัวชี้วัดที่นำไปใช้ 38 ตัวชี้วัด ผลการแบ่งกลุ่มองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้จำนวนที่เหมาะสมแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ส่งแบบสอบถามไปยังแต่ละกลุ่มตัวอย่างจำนวน 81, 64 และ 12 แห่งตามลำดับ หลังจากการวิเคราะห์ผลและประเมินประสิทธิภาพเชิงเทคนิคพบว่า มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีประสิทธิภาพดีเลิศในแต่ละกลุ่มจำนวน 19, 14 และ 8 แห่ง ตามลำดับ เมื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น รวม 10 ตัวอย่าง ถอดองค์ความรู้ในการปฏิบัติที่ดีเลิศและทดลองปฏิบัติตามพบว่า ทุกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีคะแนนประเมินสมรรถนะเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10 ดังนั้นจึงนำขั้นตอนการดำเนินงานวิจัยที่ทดสอบแล้วว่ามีความสามารถในการพัฒนาสมรรถนะการดำเนินงานดังกล่าว สรุปเป็นตัวแบบในการบริหารสมรรถนะการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ด้อยประสิทธิภาพไปสู่การพัฒนาประสิทธิภาพให้สูงขึ้น โดยสร้างเป็นตัวแบบเทียบเคียงตัวแบบบ้านของคาโน ซึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบที่มีความสำคัญ 4 ส่วนคือ หลังคาบ้าน คานบ้าน เสาบ้าน และพื้นบ้าน เมื่อนำตัวแบบไปให้ผู้เชี่ยวชาญด้านองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพิจารณาพบว่า ตัวแบบที่สร้างขึ้นมานี้มาสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในองค์กรส่วนท้องถิ่นทุกภาพส่วนได้ตามความเหมาะสม

Title Alternate Development of a competency management model in operating local government by applying engineering management tools