การศึกษาพฤติกรรมการซื้อสินค้าในร้านสะดวกซื้อของผู้บริโภค ในเขตพื้นที่อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี

Titleการศึกษาพฤติกรรมการซื้อสินค้าในร้านสะดวกซื้อของผู้บริโภค ในเขตพื้นที่อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2558
Authorsจิรภัทร ทวีวัฒน์
Degreeบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
Institutionคณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberHF จ497 2558
Keywordsพฤติกรรมผู้บริโภค--อุบลราชธานี, ร้านค้าปลีก--อุบลราชธานี, ร้านค้าสะดวกซื้อ--อุบลราชธานี
Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) ศึกษาลักษณะส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อสินค้าในร้านสะดวกซื้อของผู้บริโภคในเขตพื้นที่อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี (2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างส่วนประสมทางการตลาดกับพฤติกรรมการซื้อสินค้าในร้านสะดวกซื้อของผู้บริโภค ในเขตพื้นที่อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี และ (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาพลักษณ์ของร้านสะดวกซื้อกับพฤติกรรมการซื้อสินค้าในร้านสะดวกซื้อของผู้บริโภคในเขตพื้นที่อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี เป็นการวิจัยความสัมพันธ์ปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนที่ใช้บริการร้านสะดวกซื้อ ในเขตอำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบทดสอบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าไค-สแควร์
ผลการศึกษาพบว่า (1) ลักษณะส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อสินค้าในร้านสะดวกซื้อของผู้บริโภคในเขตพื้นที่อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 16-25 ปี สถานภาพ ส่วนใหญ่โสด อาชีพนักเรียน/นักศึกษา ระดับการศึกษาจบการศึกษาระดับปริญญาตรี รายได้เฉลี่ยต่อเดือนมีรายได้ ต่ำกว่า 10,000 บาท จำนวนสมาชิกในครอบครัว จำนวน 3-4 คน พฤติกรรมการซื้อสินค้า ส่วนใหญ่ ใช้บริการร้านสะดวกซื้อ ระหว่างเวลา 18.01-24.00 น. ค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าในร้านละดวกซื้อแต่ละครั้ง คือ 1-200 บาท ความถี่ในการซื้อสินค้าในร้านสะดวกซื้อกี่ครั้งต่อสัปดาห์ คือ 3-4 ครั้งต่อสัปดาห์ (2) ส่วนประสมทางการตลาด 4 ด้าน ประกอบด้วย ด้านสินค้าและบริการ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่ายและด้านการส่งเสริมการตลาดมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อสินค้าในร้านสะดวกซื้อของผู้บริโภคในอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ (3) ภาพลักษณ์ของร้านสะดวกซื้อ ประกอบด้วย ด้านความสะดวกในการให้บริการ ด้านพนักงาน ด้านธรรมาภิบาลมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อสินค้าในร้านสะดวกซื้อ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Title Alternate A study of consumer behavior at convenience stores in Warin Chamrap district, Ubon Ratchathani province