การศึกษาชีววิทยาการสืบพันธุ์และปัจจัยที่มีผลต่อความสมบูรณ์เพศของหอยโข่ง (Pila ampullacea Linnaeus, 1758) ในพื้นที่นาข้าวและแนวทางการเพาะเลี้ยงในโรงเพาะฟัก

Titleการศึกษาชีววิทยาการสืบพันธุ์และปัจจัยที่มีผลต่อความสมบูรณ์เพศของหอยโข่ง (Pila ampullacea Linnaeus, 1758) ในพื้นที่นาข้าวและแนวทางการเพาะเลี้ยงในโรงเพาะฟัก
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2558
Authorsเดชณรงค์ โพธิ์ศรี
Degreeวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต--สาขาวิชาเกษตรศาสตร์
Institutionคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberQL ด834 2558
Keywordsการสืบพันธุ์, ความสมบูรณ์เพศ, หอยโข่ง--การขยายพันธุ์, หอยโข่ง--การเลี้ยง
Abstract

หอยโข่ง (Thai native apple snail, Pila ampullaceal Linnaeus, 1758) เป็นหอยฝาเดียวในครอบครัวแอมพูลาริดี้ (Family Ampullariidae) ที่รูปร่างเป็นทรงกลมขนาดใหญ่คล้ายหอยเชอรี่ ปัจจุบันประชากรหอยโข่งในธรรมชาติลดจำนวนลง เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ และผลกระทบจากมนุษย์ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลทางชีววิทยาการสืบพันธุ์ที่ประกอบด้วย ดัชนีความสมบูรณ์เพศ อัตราส่วนเพศในธรรมชาติ และระยะการพัฒนาของเซลล์สืบพันธุ์ ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ความหนาแน่น คุณภาพน้ำทางกายภาพและทางเคมี และความชื้นของดิน โดยรวบรวมตัวอย่างในรอบปี (เดือนมกราคม-ธันวาคม พ.ศ.2558) ในพื้นที่นาข้าวบริเวณบ้านคำเตและบ้านหนองขุ่น อำเภอศรีเมืองใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี ตัวอย่างถูกรวบรวมได้ทั้งสิ้น 215 ตัว (เพศหญิง 115 ตัว และเพศผู้ 100 ตัว) ในช่วงเดือนเมษายน-พฤศจิกายนเท่านั้น ในช่วงเวลาเดียวกัน ขนาดของหอยโข่งเพศผู้ (น้ำหนัก 9.30+-3.06 กรัม ความยาวเปลือก 30.70+-2.99 มิลลิเมตร และความกว้างเปลือก 28.69+-3.07 มิลลิเมตร) ค่อนข้างเล็กกว่าเพศเมีย (น้ำหนักทั้งหมด 12.13+-3.13 กรัม ความยาวเปลือก 33.78+-2.49 มิลลิเมตร และความกว้างเปลือก 31.39+-2.35 มิลลิเมตร) ชีววิทยาการสืบพันธุ์และปัจจัยที่เกี่ยวข้องมีสัมพันธ์กับฤดูฝนค่อนข้างมาก โดยพบว่า ความหนาแน่นของตัวอย่างหอยโข่งจะเพิ่มขึ้นในเดือนกรกฎาคมในสถานีบ้านหนองขุ่น (3.4 ตัวต่อตารางเมตร) และบ้านคำเตย (3.8 ตัวต่อตารางเมตร) (P<0.05) อัตราส่วนของเพศผู้และเพศเมียมีค่า 1:1.15 และดัชนีความสมบูรณ์เพศ (GSI) ของหอยโข่งเพศผู้มีค่าเพิ่มขึ้นในเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน (8.09+-1.64 – 8.08+-2.79) ในขณะที่ค่า GSI ของเพศเมียเพิ่มขึ้นในเดือนกรกฎาคม (12.43+-11.83) (P<0.05) ปัจจัยทางด้านคุณภาพน้ำและดิน (แอมโมเนีย ไนไตรท์ และความชื้นของดิน) มีความสัมพันธ์กับความหนาแน่นและการพัฒนาดัชนีความสมบูรณ์เพศองค์ประกอบของอวัยวะสืบพันธุ์เพศเมีย ประกอบด้วย รังไข่ เป็นพูสีเหลืองส้มติดอยู่กับส่วนของ Digestive glands เชื่อมต่อกับส่วน Palloal oviduct ที่มี Receptaculum seminis ที่ทำหน้าที่เก็บรักษาเชื้อตัวผู้ ต่อมอัลบูมิน แกลนต์ (Albumen gland) และต่อมแคปซูลแกลนต์ (Capsule gland) ที่เป็นแหล่งอาหารและสร้างเปลือกให้กับตัวอ่อน ในส่วนของอัณฑะเพศผู้ (Testis) มีลักษณะเป็นพูสีเหลือง อยู่ส่วนด้านท้าย (Spine) ติดกับต่อมที่ช่วยย่อยอาหาร (Digestive gland) เชื่อมต่อกับท่อนำน้ำเชื้อที่ส่งเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้เข้าสู่ส่วนที่เรียกว่า Penis ตัวอย่างหอยโข่งที่มีความสมบูรณ์เพศได้ถูกนำมาเพาะพันธุ์ในสภาพโรงเรือน พบว่าแม่พันธุ์สามารถปรับตัวและวางไข่ได้ จำนวน 16 ตัว ไข่หอยโข่งมีเปลือกสีขาวและเกาะเป็นกลุ่ม จำนวน 1 กลุ่มต่อแม่พันธุ์ 1 ตัว (จำนวนของไข่เฉลี่ยแต่ละกลุ่ม 192.12+-55.45 ฟอง น้ำหนักของกลุ่มไข่เฉลี่ย 5.61+-2.26 กรัม เส้นผ่าศูนย์กลางของไข่เฉลี่ย 3.780.19 มิลลิเมตร จำนวนวันที่ฟักเฉลี่ย 21+-4.12 วัน ความยาวแรกฟักของลูกหอยโข่งเฉลี่ย 3.03+-0.12 มิลลิเมตร และมีอัตราการฟักร้อยละ 86.54+-7.58) จากนั้นลูกหอยโข่งอายุ 1 เดือน (ความยาวเปลือกเฉลี่ย 7.900.04 มิลลิเมตร ความกว้างเปลือกเฉลี่ย 7.550.04 มิลลิเมตร และน้ำหนักทั้งหมดเฉลี่ย 0.14+-0.01 กรัม) ถูกนำมาอนุบาลโดยได้รับอาหารที่แตกต่างกันทั้งหมด 4 ชุด การทดลอง ๆ ละ 3 ซ้ำ (ชุดที่ 1 เป็นชุดควบคุม ให้ใบผักกาดหอม ชุดที่ 2 อาหารที่มีโปรตีนร้อยละ 15 ชุดที่ 3 อาหารที่มีโปรตีนร้อยละ 25 และชุดที่ 4 อาหารที่มีโปรตีนร้อยละ 40) ในอัตราร้อยละ 5 ต่อน้ำหนักทั้งหมด เป็นเวลา 120 วัน พบว่า ลูกหอยโข่งที่ได้รับอาหารเม็ดสำเร็จรูปที่มีโปรตีนร้อยละ 15 มีการเจริญเติบโตดีที่สุด (น้ำหนักที่เพิ่มขึ้น (WG) 3.45+-0.24 กรัม; ร้อยละน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น (%WG) 2,407+-158.5; อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อ (FCR) 2.07+-0.04; อัตราการเติบโตจำเพาะ (SGR) ร้อยละ 2.680.21; ความยาวเปลือกที่เพิ่มขึ้น (SLI) 0.122+-0.004 มิลลิเมตรต่อวัน; อัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อวัน (ADG) 0.028+-0.002 กรัมต่อวัน) (P<0.05) เมื่อเทียบกับชุดการทดลองที่ให้อาหารที่มีโปรตีนร้อยละ 25 ร้อยละ 40 และชุดควบคุม ในขณะที่อัตรารอดของลูกหอยโข่งที่ได้รับอาหารชุดควบคุมมีค่าสูงสุด และไม่แตกต่างจากอาหารโปรตีนร้อยละ 15 และร้อยละ 40 แต่จะมีความแตกต่างกับสูตรอาหารโปรตีนร้อยละ 25 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ผลการศึกษาครั้งนี้ทำให้ได้ข้อมูลพื้นฐานในการศึกษาเพื่อการอนุรักษ์เพื่อการอนุรักษ์หอยโข่งในธรรมชาติ และแนวทางการจัดการสภาพแวดล้อมในการเพาะพันธุ์และอนุบาลหอยโข่งในโรงเพาะฟัก

Title Alternate Study on reproductive biology and relating factors on sexual maturation of Thai native apple snail (Pila ampullacea Linnaeus, 1758) in the rice field area and breeding studies in captivity