Title | พระสงฆ์กับการเมืองในระบอบประชาธิปไตย: ศึกษากรณีพระสงฆ์ในเขตเทศบาลเมืองอุบลราชธานีกับบทบาทสนับสนุนพรรคการเมืองในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนสมัยสามัญ ปี 2554 |
Publication Type | วิทยานิพนธ์/Thesis |
Year of Publication | 2555 |
Authors | ประยูร กางกั้น |
Degree | รัฐศาสตรมหาบัณฑิต--สาขาวิชาการปกครอง |
Institution | คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี |
City | อุบลราชธานี |
Call Number | BQ ป365 2555 |
Keywords | การเมือง, พุทธศาสนากับการเมือง, ระบอบประชาธิปไตย, สงฆ์--กิจกรรมทางการเมือง, สงฆ์--แง่การเมือง, สมาชิกสภาผู้แทน |
Abstract | การวิจัย เรื่อง พระสงฆ์กับการเมืองในระบอบประชาธิปไตย ศึกษากรณีพระสงฆ์ในเขตเทศบาลเมืองอุบลราชธานีกับบทบาทสนับสนุนพรรคการเมืองในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนสมัยสามัญ ปี 2554 โดยมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาถึง 1) พระสงฆ์ในเขตเทศบาลเมืองอุบลราชธานีมีบทบาทสนับสนุนพรรคการเมืองอย่างไรบ้าง 2) เพราะเหตุใดพระสงฆ์จึงส่งผลให้พระสงฆ์มีบทบาทในการสนับสนุนพรรคการเมืองในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนสมัยสามัญ ปี 2554
วิธีการศึกษาเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบสัมภาษณ์ และการสังเกตการณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากพระสงฆ์ระดับเจ้าอาวาส รองเจ้าอาวาส พระนิสิตและประชาชนที่มีบทบาทเกี่ยวกับวัด ในเขตเทศบาลเมืองอุบลราชธานี จำนวน 57 วัน และนำมาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ
ผลการศึกษาพบว่า พระสงฆ์ในเขตเทศบาลเมืองอุบลราชธานีมีบทบาทในการสนับสนุนพรรคการเมืองในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนสมัยสามัญ ปี 2554 ทั้งทางตรงและทางอ้อมโดยมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน คือ เพื่อต้องการได้รับอุปถัมภ์จากพรรคการเมืองและนักการเมืองในเรื่องเศรษฐกิจ และสังคม จึงส่งผลให้พระสงฆ์แสดงบทบาทสนับสนุนพรรคการเมืองโดยมีสาเหตุ 1) ผลประโยชน์ต่างตอบแทน 2) เป็นลูกศิษย์กับอาจารย์ 3) เคยเป็นโยมอุปัฏฐากกันมาก่อน 4) ความรู้สึกส่วนตัวกล่าวคือ ไม่ชอบพรรคการเมืองบางพรรค ในส่วนของพรรคการเมืองและนักการเมืองนั้นมีเป้าหมายที่ชัดเจน คือ ต้องการฐานคะแนนเสียงจากประชาชนในเขตชุมชนที่วัดตั้งอยู่ โดยการอาศัยบารมี ความน่าเชื่อถือ ความศรัทธาที่ประชาชนมีต่อพระสงฆ์พร้อมทั้งการปรากฏกายในงานพิธีต่าง ๆ ที่ทางวัดได้จัดขึ้นเพื่อสร้างความเป็นพวกเดียวกันผ่านพระสงฆ์
นอกจากนั้นพรรคการเมืองและนักการเมืองยังได้สนับสนุนสิ่งของอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ที่ใช้ในกิจกรรมของวัดอีกด้วย
นอกจากการอุปถัมภ์ของนักการเมืองต่อพระสงฆ์และพระสงฆ์ได้แสดงบทบาทในการสนับสนุนพรรคการเมืองและนักการเมืองยังค้นพบอีกว่าสาเหตุที่พระสงฆ์ให้การสนับสนุนพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งยังมีเรื่องเกี่ยวกับชาติพันธุ์ของนักการเมือง และพรรคการเมือง เข้ามาเกี่ยวข้องอีกด้วย
|
Title Alternate | Buddhist monks and political democracy a case study of the buddhist monks in the Ubon Ratchathani municipality and the support of political parties in the election of forum members of parliament in the ordinary year 2554 |