ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการ IMPROVE ร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ที่มีต่อความสามารถในการให้เหตุผลในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง สมบัติของเลขยกกำลัง

Titleผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการ IMPROVE ร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ที่มีต่อความสามารถในการให้เหตุผลในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง สมบัติของเลขยกกำลัง
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2558
Authorsสุวรรณี เสาร์ทอง
Degreeวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต--สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา
Institutionคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberQA ส875 2558
Keywordsการสอนคณิตศาสตร์, การสอนวิทยาศาสตร์, การแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์, คณิตศาสตร์--การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา), คณิตศาสตร์--กิจกรรมการเรียนการสอน
Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการให้เหตุผลในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยกระบวนการ IMPROVE ร่วมกับกระบวนการปัญหาเขิงสร้างสรรค์ก่อนเรียนและหลังเรียน และเปรียบเทียบความสามารถในการให้เหตุผลในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยกระบวนการ IMPROVE ร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์กับกลุ่มที่เรียนด้วยวิธีปกติ นอกจากนี้ยังศึกษาความพึงพอใจในการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยกระบวนการ IMPROVE ร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสิรินธร จังหวัดสุรินทร์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 เป็นนักเรียนกลุ่มทดลองจำนวน 40 คน เรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยกระบวนการ IMPROVE ร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ และกลุ่มควบคุมจำนวน 40 คน เรียนด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้ตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบวัดความสามารถในการให้เหตุผลในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t (t-test) และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนกลุ่มทดลองมีความสามารถในการให้เหตุผลในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนี้นักเรียนกลุ่มทดลองมีความสามารถในการให้เหตุผลในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์สูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีความพึงพอใจในการเรียนอยู่ในระดับมาก

Title Alternate Effect of organizing learning activity using improve process with creative problem solving process on reasoning ability in mathematical problem solving on properties of exponents