การพัฒนาการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง สารชีวโมเลกุลโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้

Titleการพัฒนาการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง สารชีวโมเลกุลโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2557
Authorsกมลนุช ไชยมัชชิม
Degreeวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต--สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา
Institutionคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberQH ก136 2557
Keywordsการสอนวิทยาศาสตร์, ชีวโมเลกุล--การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา), ชีวโมเลกุล--กิจกรรมการเรียนการสอน
Abstract

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ส่งเสริมความเข้าใจศึกษาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการ และศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง สารชีวโมเลกุล โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาในงานวิจัยนี้ได้มาจากการสุ่มเลือกแบบจำเพาะเจาะจงเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 16 คน ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 เครื่องมือวิจัยที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบทดสอบวัดความเข้าใจ เรื่องสารชีวโมเลกุล (แบบปรนัยชนิด 4 ตัวเลือก พร้อมอธิบายเหตุผลประกอบตัวเลือก) แผนผังรูปตัวยู และแบบทดสอบถามวัดความพึงพอใจต่อกระบวนการจัดการเรียนรู้ แผนผังรูปตัวยู กิจกรรมการทดลองและบทบาทของครู วิเคราะห์ข้อมูลโดยการเปรียบเทียบข้อมูลด้วยค่าเชิงสถิติ ได้แก่ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติค่าทีแบบกลุ่มตัวอย่างไม่อิสระต่อกัน (t-test dependent) ผลการวิจัยพบว่า การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ นักเรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์หลังเรียน (ค่าเฉลี่ย 11.43 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 6.78) สูงกว่าก่อนเรียน (ค่าเฉลี่ย 4.44 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 3.83) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 นักเรียนส่วนใหญ่มีความเข้าใจถูกต้องบางส่วนและเข้าใจความหมายผิดเกี่ยวกับสารชีวโมเลกุล เมื่อวิเคราะห์ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการ พบว่า นักเรียนมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับดี ซึ่งทักษะที่นักเรียนพัฒนามากที่สุด คือ ทักษะการนิยามเชิงปฏิบัติการ มีร้อยละความก้าวหน้าร้อยละ 76.50 ทักษะที่นักเรียนพัฒนาน้อยที่สุด คือ ทักษะการตีความหมายข้อความและลงข้อสรุป มีร้อยละความก้าวหน้าร้อยละ 35.50 ความพึงพอใจของนักเรียนต่อกระบวนการจัดการเรียนรู้ แผนผังรูปตัวยู กิจกรรมการทดลอง และบทบาทของครูอยู่ในระดับมาก อย่างไรก็ตามการวิจัยนี้บ่งชี้ให้เห็นว่า การเรียนรู้แบบเน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลางมากขึ้นนี้มีส่วนช่วยให้นักเรียนมีความสุขกับกิจกรรมและสนใจที่จะเรียนรู้เรื่องสารชีวโมเลกุลมากขึ้น

Title Alternate Enhancing grade 12 students' learning of biomolecules by using inquiry-based activities