Title | สถานการณ์การเลี้ยงปลานิลในกระชังและปรสิตภายนอกบริเวณแม่น้ำมูล จังหวัดอุบลราชธานี |
Publication Type | วิทยานิพนธ์/Thesis |
Year of Publication | 2557 |
Authors | บัวแก้ว วงอำนาจ |
Degree | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต--สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ |
Institution | คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี |
City | อุบลราชธานี |
Call Number | SH บ274 2557 |
Keywords | ปรสิต, ปลานิล--การเลี้ยง--อุบลราชธานี, อุบลราชธานี, แม่น้ำมูล |
Abstract | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมข้อมูลสถานการณ์การเลี้ยงปลานิลในกระชังในแม่น้ำมูล และการเกิดปรสิตภายนอกของปลานิลที่เลี้ยงในกระชัง ในพื้นที่ 3 อำเภอของจังหวัดอุบลราชธานี ผลการสัมภาษณ์เกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิลจำนวน 237 ราย พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุ 51 ปีขึ้นไป จบการศึกษาในระดับชั้นประถมเป็นส่วนใหญ่ ประสบการณ์ในการเลี้ยง 6-10 ปี มีรายได้ต่อเดือนอยู่ที่ 8,001-10,000 บาท ส่วนใหญ่เลี้ยงปลาด้วยทุนจากบริษัท มีการใช้กระชังขนาด 3*6*3 4*6*5 5*6*3 เมตร แต่ละรายมีจำนวนกระชังต่ำกว่า 10 กระชัง ลูกพันธุ์ที่เลี้ยงส่วนใหญ่ซื้อจากบริษัทเอกชนขนาดใหญ่ ขนาดลูกปลาที่ปล่อยโดยเฉลี่ย 21-40 กรัม ใช้อาหารปลานิลสำเร็จรูปในการเลี้ยง ต้นทุนเฉลี่ยมากกว่า 50 บาท/กก. ผลผลิตเฉลี่ยต่อกระชังแต่ละรุ่นอยู่ที่ 801-1200 กก./กระชัง อัตรารอดเฉลี่ยต่อกระชังร้อยละ 51-70 และ 1 ปี เลี้ยงปลาได้ 2 รุ่น มีการใช้เครื่องเติมออกซิเจนระหว่างการเลี้ยง ความรู้เกี่ยวกับเรื่องปรสิตภายนอกของเกษตรกรอยู่ในระดับปานกลาง และเคยประสบปัญหาโรคที่เกิดจากปรสิตภายนอก ฤดูกาลที่พบปรสิตภายนอกมากที่สุดได้แก่ฤดูร้อน อาการที่สังเกตและสันนิษฐานได้ว่าปลาเป็นโรค คือ ปลามีอาการลอยหัวเป็นส่วนใหญ่ ร่วมกับการที่ปลาไม่กินอาหารหรือกินอาหารน้อยลง ปรสิตภายนอกที่พบตลอดการเลี้ยงและส่งผลกระทบต่อการเลี้ยงมากที่สุด คือ เห็บระฆัง เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่มีการแจ้งเจ้าหน้าที่ประมงและไม่ได้ทำการรักษาอาการเบื้องต้น ปัญหาคุณภาพน้ำที่ทำให้ปลาตายมากที่สุด ได้แก่ ออกซิเจนที่ละลายได้ในน้ำต่ำ เกษตรกรส่วนใหญ่ได้รับความรู้ในการเลี้ยงปลาจากตัวแทนขายเวชภัณฑ์ |
Title Alternate | Cage culture of Nile tilapia (Oreochromis niloticus) and ectoparasite in Mun river, Ubon Ratchathani province |