การคัดแยกแบคทีเรียกรดแลคติกจากลำไส้ปลาดุกอุยเพื่อใช้เป็นโปรไบโอติกส์ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

Titleการคัดแยกแบคทีเรียกรดแลคติกจากลำไส้ปลาดุกอุยเพื่อใช้เป็นโปรไบโอติกส์ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2557
Authorsวอนสมัย ดาลาเสน
Degreeวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต--สาขาวิชาเกษตรศาสตร์
Institutionคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberSH ว364 2557
Keywordsการคัดแยกแบคทีเรีย, การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ, ปลาดุกอุย, สัตว์น้ำ--การเพาะเลี้ยง, แบคทีเรียกรดแล็กติก, โปรไบโอติกส์
Abstract

งานวิจัยเรื่อง การคัดแยกแบคทีเรียกรดแลคติกจากลำไส้ปลาดุกอุยเพื่อใช้เป็นโปรไบโอติกส์ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำมีวัตถุประสงค์เพื่อคัดแยกแบคทีเรียกรดแลคติกที่สามารถยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียก่อโรคในปลา และศึกษาความทนทานของแบคทีเรียกรดแลคติกที่คัดเลือกต่อสภาพความเป็นกรดและน้ำดี และความต้านทานต่อยาปฏิชีวนะที่ใช้ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ จากการศึกษาพบว่า จากจำนวนแบคทีเรียกรดแลคติกที่แยกได้ทั้งหมด 77 ไอโซเลท มี 9 ไอโซเลทที่แสดงความสามารถในการยับยั้งแบคทีเรียที่นำมาทดสอบทุกสายพันธุ์ได้ในระดับดีด้วยวิธี agar spot test และเมื่อนำแบคทีเรียกรดแลคติกดังกล่าวมาทำการจำแนกชนิดด้วยชุดทดสอบแบคทีเรียสำเร็จรูป API 20 strep และ API 50 CHL พบว่า เป็นแบคทีเรียกรดแลคติก Enterococcus faecium 6 ไอโซเลท Lactocuccus lactis ssp. Lactis 2 ไอโซเลท และ Lactobacillus brevis 1 ไอโซเลท การทดสอบกิจกรรมการยับยั้งด้วยวิธี disc diffusion assay โดยใช้น้ำเลี้ยงเซลล์ปกติ น้ำเลี้ยงเซลล์ที่ผ่านการปรับสภาพให้เป็นกลาง และน้ำเลี้ยงเซลล์ที่ถูกย่อยด้วยเอนไซม์ Proteinase K พบว่า ขนาดของบริเวณยับยั้งแตกต่างกันบ่งชี้ว่ากลไกการยับยั้งเป็นผลมาจากการผลิตกรดอินทรีย์และแบคเทอริโอซิน นอกจากนี้ยังพบว่า L.brevis มีความสามารถในการยับยั้งเชื้อ Aeromonas hydrophila, Streptococcus agalactiae และ Flavobacterium columnare ได้ดีกว่า E.faecium และ Lc.lactis ssp. Lactis อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สำหรับการทดสอบความทนทานของแบคทีเรียกรดแลคติกต่อสภาวะภายในทางเดินอาหาร พบว่า แบคทีเรียกรดแลคติกทั้ง 9 ไอโซเลทสามารถมีชีวิตและอยู่รอดได้ในระดับค่าความเป็นกรดที่ 3 และ 2 และในน้ำดีสดปลาดุกอุย ความเข้มข้นร้อยละ 10 ในระยะเวลา 6 ชั่วโมง นอกจากนี้ยังพบว่า Ent. faecium เกือบทุกไอโซเลท และ L.brevis สามารถต้านทานต่อยา nonfloxacin, sulphamethoxazole, ciprofloxacin, oxolinic acid และ sulphamethoxazole/trimethoprim ส่วน Lc.lactis ssp. Lactis มีความสามารถในการต้านทานต่อยา oxolinic acid, sulphamethoxazole และ sulphamethoxazole/trimethoprim จากคุณสมบัติข้างต้นแสดงให้เห็นว่าแบคทีเรียกรดแลคติกทั้ง 9 ไอโซเลทที่แยกได้นี้มีศักยภาพในการเป็นโปรไบโอติกส์สำหรับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

Title Alternate Screening of lactic acid bacteria from the intestine of clarias macrocephalus as probiotics in aquaculture