การออกแบบและปรับปรุงการทำงานตามหลักการยศาสตร์ : กรณีศึกษาการทอผ้าไหมยกทอง หมู่บ้านท่าสว่าง จังหวัดสุรินทร์

Titleการออกแบบและปรับปรุงการทำงานตามหลักการยศาสตร์ : กรณีศึกษาการทอผ้าไหมยกทอง หมู่บ้านท่าสว่าง จังหวัดสุรินทร์
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2557
Authorsศุภวิช นิยมพันธุ์
Degreeวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต--สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
Institutionคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberNA ศ726 2557
Keywordsการทอผ้าไหม--สุรินทร์, การออกแบบและปรับปรุงการทำงาน, ผ้าไหม--การออกแบบ, หลักการยศาสตร์, เออร์โกโนมิกส์
Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาด้านการยศาสตร์ ด้านเศรษฐศาสตร์ เกี่ยวกับต้นทุนในการทอผ้าไหมยกทอง และปรับปรุงสถานที่ปฏิบัติงานและปรับปรุงท่าทางการทำงานให้สอดคล้องตามหลักการยศาสตร์ให้กับสมาชิกกลุ่มทอผ้าไหมยกทอง หมู่บ้านท่าสว่าง จังหวัดสุรินทร์ จากการใช้แบบสอบถามและสัมภาษณ์ พบว่า สมาชิกกลุ่มทอผ้าไหมยกทองมีอาการปวดเมื่อยบริเวณส่วนต่าง ๆ ของร่างกายและมีค่าดัชนีความไม่ปกติ (AI) สูงมาก คือ มีค่าเฉลี่ย 3.44 ซึ่งหมายถึง มีปัญหาระดับการปวดรุนแรง สมควรแก้ไข จากนั้นจึงนำสมาชิกกลุ่มตัวอย่าง 4 คน มาทำการวิเคราะห์ท่าทางการทำงาน (RULA) ขณะทำงานปกติ จากการศึกษาการทำงานของสมาชิกและประเมินท่าทางการทำงาน (RULA) พบว่า สมาชิกกลุ่มตัวอย่างแต่ละคนมีค่าคะแนนท่าทางการทำงาน (RULA) เท่ากับ 7 คะแนน อยู่ในระดับสูง ซึ่งแสดงว่าการทำงานอยู่ในสภาพไม่เหมาะสม ควรมีการปรับปรุงท่าทางการทำงาน ดังนั้น การปรับปรุงสถานที่ปฏิบัติงานและปรับปรุงท่าทางการทำงานเพื่อปรับเปลี่ยนสภาพการทำงานจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อลดปัญหาดังกล่าวจึงได้ปรับเปลี่ยนท่าทางการทำงานใหม่ให้สอดคล้องตามหลักการยศาสตร์ และใช้เก้าอี้การยศาสตร์ที่ได้ออกแบบมาช่วยให้ท่าทางการทำงานดีขึ้น หลังการปรับปรุงสถานที่ปฏิบัติงานพบว่า ค่าดัชนีความไม่ปกติ (AI) มีค่าเฉลี่ย 2.85 ค่าคะแนนท่าทางการทำงาน (RULA) มีค่าเฉลี่ย 5.25 ประสิทธิภาพการทอผ้าไหมยกทอง ลายราชวัตรย่อมุมไม้สิบสองเพิ่มมากขึ้น จากทอได้ความยาว 6 เซนติเมตรต่อวัน เพิ่มเป็น 6.5 เซนติเมตรต่อวัน ส่งผลให้ระยะเวลาที่ใช้ในการทอผ้าไหมยกทอง ลายราชวัตรย่อมุมไม้สิบสอง จากใช้เวลา 50 วัน เป็น 46 วัน ทำให้ต้นทุนด้านแรงงานในการทอลดลง โดยก่อนปรับปรุงต้นทุนด้านแรงงาน 40,000 บาท หลังปรับปรุงเหลือ 36,800 บาท ลดลง 3,200 บาท คิดเป็นร้อยละ 8

Title Alternate Design and work improvement by ergonomics principles: a case study of the woven gold brocade textile of Tha Sawang village at Surin province