Title | การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ทีไฟว์กระดาษ เรื่อง กรดและเบส |
Publication Type | วิทยานิพนธ์/Thesis |
Year of Publication | 2555 |
Authors | สนทรรศน์ มนัส |
Degree | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต--สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา |
Institution | คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี |
City | อุบลราชธานี |
Call Number | QD ส188 2555 |
Keywords | กรด (เคมี), กรดและเบส, การจัดการเรียนรู้ทีไฟว์, การสอนวิทยาศาสตร์, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, เคมี--การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา), เบส (เคมี) |
Abstract | โปรแกรม Designing4Learning+Portfolio หรือโปรแกรม D4L+P เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้ทีไฟว์ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ซึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบ 5 อย่าง คือ การให้งาน การให้ข้อเสนอแนะ การทำงานเป็นทีม และเครื่องมือ อย่างไรก็ตามโปรแกรมนี้นักเรียนต้องเรียนผ่านระบบอินเตอร์เน็ต จึงเป็นข้อจำกัดสำหรับนักเรียนที่ไม่สามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้หรือโรงเรียนมีอินเตอร์เน็ตแต่ความเร็วต่ำ เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว จึงได้มีการพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานระหว่างการจัดการเรียนรู้ทีไฟว์และการมอบหมายงานให้นักเรียนทำในกระดาษ ให้ชื่อเรียกการจัดการเรียนรู้นี้ว่าทีไฟว์กระดาษ วัตถุประสงค์ของงานวิจัยเพื่อศึกษาความก้าวหน้าของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คะแนนระหว่างเรียนของแต่ละงาน และความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ทีไฟว์กระดาษ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช จำนวน 46 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ทีไฟว์กระดาษจำนวน 4 แผน แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน และแบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความก้าวหน้าทางการเรียนและค่าเฉลี่ยเลขคณิต ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนมีความก้าวหน้าของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเท่ากับ 0.77 ซึ่งอยู่ในระดับสูง ส่วนคะแนนระหว่างเรียนโดยเฉลี่ยทุกเนื้อหาเท่ากับ 4.57 โดยเนื้อหาที่นักเรียนได้คะแนนระหว่างเรียนสูงที่สุด คือ พีเอชของสารละลาย และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.33 โดยนักเรียนเสนอแนะว่างานที่ 1 ซึ่งนักเรียนแต่ละคนทำแบบฝึกหัดก่อนเข้าห้องเรียนเป็นงานที่ทำให้นักเรียนเข้าใจเนื้อหา เรื่อง กรดและเบสมากที่สุด |
Title Alternate | Study of academic achievement and satisfaction towards paper-based T5 learning on acids bases |