ประสิทธิภาพของเชื้อราก่อโรคในแมลงในการควบคุมแมลงศัตรูกะหล่ำปลี

Titleประสิทธิภาพของเชื้อราก่อโรคในแมลงในการควบคุมแมลงศัตรูกะหล่ำปลี
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2559
Authorsแก้วบัวสอน ราชขันติ
Degreeปรัชญาดุษฎีบัณฑิต--สาขาวิชาเกษตรศาสตร์
Institutionคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberSB ก892 2559
Keywordsกะหล่ำปลี\xการปลูก, กะหล่ำปลี\xโรคและศัตรูพืช\xการควบคุม, เชื้อราก่อโรคต่อแมลง
Abstract

การคัดเลือกเชื้อราสาเหตุโรคแมลงที่มีศักยภาพในการควบคุมแมลงศัตรูกะหล่ำปลีมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เก็บรวบรวมเชื้อราก่อโรคในแมลง จากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและประเทศไทย (2) คัดเลือกเชื้อราก่อโรคในแมลงที่มีศักยภาพสูงในการควบคุมแมลงศัตรูกะหล่ำปลี (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรุนแรงในการก่อโรคของเชื้อราก่อโรคในแมลงและกิจกรรมเอนไซม์ที่เชื้อราสร้างขึ้น (4) ศึกษาแนวทางในการใช้เชื้อราก่อโรคในแมลงควบคุมแมลงศัตรูกะหล่ำปลีโดยไม่ใช้สารเคมีกำจัดแมลง ซึ่งการวิจัยดังกล่าวได้ทำการสำรวจ เก็บข้อมูลในแปลงปลูกพืชเกษตรกรและป่าธรรมชาติของประเทศไทย 8 จังหวัด และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 9 จังหวัด สามารถแยกได้เชื้อราสาเหตุโรคแมลงทั้งหมด 100 ไอโซเลท จำแนกได้เชื้อรา 3 สกุล คือ เชื้อราสกุล Metarhizium จำนวน 12 ไอโซเลท เชื้อราสกุล Beauveria จำนวน 53 ไอโซเลท และเชื้อราสกุล Paecilomyces จำนวน 35 ไอโซเลท เมื่อนำเชื้อรา ทั้งหมดทดสอบศักยภาพควบคุมเพลี้ยอ่อนผักและหนอนกระทู้ผัก พบว่า เชื้อราสกุล Metarhizium ไอโซเลท PSON1 สามารถทำให้เพลี้ยอ่อนผักมีเปอร์เซ็นเกิดโรคและตายสูงที่สุดที่ 96 ชั่วโมง เท่ากับ 90.00 เปอร์เซ็นต์ และเชื้อราสกุล Beauveria ไอโซเลท VR19 สามารถทำให้หนอนกระทู้ผักเกิดโรคและตายสูงที่สุดที่ระยะเวลา 96 ชั่วโมงเท่ากับ 32.50 เปอร์เซ็นต์ จากตรวจกิจกรรมของเอนไซม์ ในเชิงปริมาณพบว่า เชื้อราสกุล Beauveria ไอโซเลท VR19 และการบ่มเชื้อที่ระยะเวลา 5 และ 7 วัน มีกิจกรรมของเอนไซม์ Protease สูงที่สุดเท่ากับ 1,027.43 และ 1,027.56 ไมโครโมลต่อมิลลิกรัมโปรตีนต่อชั่วโมง เชื้อราสกุล Metarhizium ไอโซเลท PSON1 และการบ่มเชื้อที่ระยะเวลา 7 วัน มีกิจกรรมของเอนไซม์ chitinase สูงที่สุดเท่ากับ 33,225.83 ไมโครโมลต่อมิลลิกรัมโปรตีนต่อชั่วโมง และเชื้อราสกุล Metarhizium ไอไซเลท PSON1 และการบ่มเชื้อราที่ระยะเวลา 9 วัน มีกิจกรรมของเอนไซม์ Lipase สูงที่สุด คือ 8,569.88 ไมโครโมลต่อมิลลิกรัมโปรตีนต่อชั่วโมง เมื่อนำเชื้อราสกุล Beauveria ไอโซเลท VR19 เชื้อราสกุล Metarhizium ไอโซเลท PSON1 ทดสอบศักยภาพในการควบคุมแมลงศัตรูกะหล่ำในสภาพแปลงปลูกเปรียบเทียบกับชีวภัณฑ์เชื้อราเขียว Metarhizium anisopliae ชีวภัณฑ์เชื้อราขาว Beauveria bassiana สารเคมีกำจัดแมลงอะบาเม็กติน (Abametin) และ control พบว่ากรรมวิธีใช้สารเคมีอะบาเม็กติน พบปริมาณด้วงหมัดผักแถบลาย หนอนคืบกะหล่ำหนอนกะทู้ผัก หนอนเจาะยอดกะหล่ำหนอนใยผัก หนอนผีเสื้อขาว เพลี้ยอ่อนผัก และหนอนเจาะหัวกะหล่ำปลีในประมาณต่ำสุดและกรรมวิธีใช้เชื้อรา Metarhizium ไอโซเลท PSON1 พบประมาณเพลี้ยอ่อนและหนอนเจาะหัวกะหล่ำปลีเฉลี่ยต่ำสุด (8.50 และ 3.62 ตัวต่อตารางเมตร) ไม่แตกต่างกับกรรมวิธีใช้สารเคมีกำจัดแมลงอะบาเม็กติน (6.08 และ 2.75 ตัวต่อตารางเมตร) สำหรับน้ำหนักต่อหัวของกะหล่ำปลีพบว่า กรรมวิธีใช้สารเคมีกำจัดแมลงอะบาเม็กติน และชีวภัณฑ์เชื้อรา M.anisopliae ทำให้กะหล่ำปลีมีน้ำหนักต่อหัวมากที่สุด เท่ากับ 1.85 และ 1.75 กิโลกรัม และผลผลิตต่อไร่ของกะหล่ำปลี พบว่า กรรมวิธีใช้สารเคมีกำจัดแมลงอะบาเม็กติน ชีวภัณฑ์เชื้อรา M. anisopliae ชีวภัณฑ์เชื้อรา B.bassiana และเชื้อราสกุล Metarhizium ไอโซเลท PSON1 ทำให้กะหล่ำปลีมีผลผลิตต่อไร่มากที่สุด เท่ากับ 7.05, 7.03, 6.70 และ 6.61 ตันต่อไร่ ตามลำดับ

Title Alternate Efficacy of entomopatogenic fungi for controlling insect peste of cabbage