การศึกษาอุบัติการณ์โรคไข้เลือดออกในพื้นที่ระบาดและไม่ระบาดด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ จังหวัดอุบลราชธานี

Titleการศึกษาอุบัติการณ์โรคไข้เลือดออกในพื้นที่ระบาดและไม่ระบาดด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ จังหวัดอุบลราชธานี
Publication Typeงานวิจัย/Research report
Year of Publication2559
Authorsจารุวรรณ์ วงบุตดี, สุวภรณ์ แดนดี, จุฑารัตน์ จิตติมณี, วัชรพงษ์ แสงนิล
Institutionวิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberRC147.H44 จ337ก 2559
Keywordsยุงลาย--การควบคุม--อุบลราชธานี, ระบบการจัดเก็บและค้นข้อสนเทศ--ภูมิศาสตร์, ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์--อุบลราชธานี, ไข้เลือดออก--การป้องกันและควบคุม, ไข้เลือดออก--อุบลราชธานี
Abstract

โรคไข้เลือดออกเกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี มียุงลายเป็นพาหะนำโรค และเป็นปัญหาสาธารณสุขของจังหวัดอุบลราชธานีและประเทศไทย การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสำรวจความชุกของลูกน้ำยุงลายในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก 2) เพื่อศึกษาการรับรู้ และพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออก 3) เพื่อประยุกต์ใช้ระบบภูมิสารสนเทศในการวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงต่อโรคไข้เลือดออก วิธีดำเนินการวิจัยสำรวจความชุกชุมของลูกน้ำยุงลาย ช่วยก่อนระบาด ช่างระบาด และหลังระบาด เก็บตำแหน่งพิกัดหลังคาเรือนที่ทำการสำรวจลูกน้ำยุงลายในแต่ละหมู่บ้าน ด้วยเครื่อง GPS สำรวจการรับรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออก รวบรวมข้อมูลแบบสอบถามในเดือนมีนาคม 2559 จำนวน 159 ครัวเรือน วิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงต่อโรคไข้เลือดออกด้วยระบบภูมิสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) โดยทำเขตพื้นที่กันออก (Buffer) จากตำแหน่งหลังคาเรือนที่พบลูกน้ำยุงลายในระยะ 30 และ 50 เมตร
ผลการศึกษาพบว่า หมู่บ้านทุ่งเดิน ช่วงก่อนระบาดพบลูกน้ำยุงลาย 24 หลังคาเรือน (21.24%) ช่วงระบาด จำนวน 9 หลังคาเรือน (8.18%) และหลังระบาด จำนวน 33 หลังคาเรือน (30.84%) สำหรับหมู่บ้านดอนกลางเหนือ ช่วงก่อนระบาด พบลูกน้ำยุงลาย จำนวน 18 หลังคาเรือน (10.29%) ช่วงระบาดและช่วงหลังระบาดไม่พบลูกน้ำยุงลาย ระดับการรับรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกของประชาชนหมู่บ้านทุ่งเดิ่นมีระดับความรู้อยู่ในระดับสูงร้อยละ 75.8 และหมู่บ้านดอนกลางเหนือมีระดับการรับรู้อยู่ในระดับสูงร้อยละ 78.6 ผลการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกระหว่างสองหมู่บ้านพบว่า ไม่มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (r=14.441, p-value<0.001) สำหรับระดับพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชน พบว่า ประชาชนหมู่บ้านทุ่งเดิ่นมีระดับพฤติกรรมการป้องกันอยู่ในระดับสูงร้อยละ 53.2 และประชาชนหมู่บ้านดอนกลางเหนือ มีระดับพฤติกรรมการป้องกันอยู่ในระดับสูงร้อยละ 23.7 ผลการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกระหว่างหมู่บ้านทุ่งเดิ่น กับหมู่บ้านดอนกลางเหนือ พบว่า มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (r=14.441, p-value<0.001) การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ในระยะที่เหมาะสมต่อการระบาดของโรคไข่เลือกออกในระยะ 30 เมตร พบว่า หมู่บ้านทุ่งเดิ่นในช่วงก่อนระบาด มีจำนวน 56 หลังคาเรือน และระยะ 50 เมตร มี 90 หลังคาเรือนและในช่วงหลังระบาดในระยะ 30 เมตร มีจำนวน 69 หลังคาเรือน และระยะ 50 เมตร มีจำนวน 101 หลังคาเรือน ซึ่งมีโอกาสเสี่ยงต่อการระบาดของยุงลาย สำหรับหมู่บ้านดอนกลางเหนือ ในช่วงก่อนระบาดพบว่า ระยะ 30 เมตร มีจำนวน 51 หลังคาเรือน และระยะ 50 เมตร มี 107 หลังคาเรือน ที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการระบาดของยุงลาย ดังนั้นการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยในการพัฒนาฐานข้อมูลที่จะชี้ให้เห็นแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายและหลังคาเรือนที่คาดว่าจะเกิดการระบาดโรคไข้เลือดออก อันเป็นประโยชน์ในการสนับสนุนการตัดสินใจการป้องกันและควบคุมยุงลายและโรคไข้เลือดออก

Title Alternate Study of dengue hemorrhagic fever incidence in endemic and none endemic area using geographic information system, Ubonratchathani province