การศึกษาประสิทธิผลการใช้โปรแกรมทักษะชีวิตเพื่อป้องกันการสูบบุหรี่ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น: กรณีศึกษา โรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดอุบลราชธานี

Titleการศึกษาประสิทธิผลการใช้โปรแกรมทักษะชีวิตเพื่อป้องกันการสูบบุหรี่ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น: กรณีศึกษา โรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดอุบลราชธานี
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2559
Authorsจิตเกษม เบ็ญจขันธ์
Degreeวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต--สาขาวิชาการบริหารบริการสุขภาพ
Institutionคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberRA จ394 2559
Keywordsการสูบบุหรี่--การป้องกันและควบคุม, การสูบบุหรี่--อุบลราชธานี--การป้องกันและควบคุม, นักเรียนมัธยมศึกษา--สุขภาพและอนามัย--อุบลราชธานี, โปรแกรมสุขศึกษา
Abstract

การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมทักษะชีวิตเพื่อป้องกันการสูบบุหรี่ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดอุบลราชธานี รวม 70 คน สุ่มเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 35 คน เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2558-มีนาคม 2559 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมทักษะชีวิตเพื่อป้องกันการสูบบุหรี่ร่วมกับกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ประกอบด้วย การบรรยายกลุ่ม เกม การสาธิตและฝึกปฏิบัติ แต่ละครั้งห่างกัน 1 สัปดาห์ รวม 6 ครั้ง เก็บข้อมูลก่อนทดลอง 1 สัปดาห์ หลังทดลอง 1 สัปดาห์ และติดตามผลอีก 3 เดือน วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติอ้างอิง (Independent t-test และ Two-way repeated measure ANOVA) กลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมเพื่อป้องกันการเสพบุหรี่ มีคะแนนเฉลี่ยทักษะชีวิตด้านความตระหนักรู้ในตนเอง ด้านความภูมิใจในตนเองและความรับผิดชอบต่อสังคม ด้านการตัดสินใจและการแก้ปัญหา ด้านการสื่อสารและการสร้างสัมพันธภาพ และด้านการจัดการกับอารมณ์และความเครียด สูงกว่าก่อนการทดลอง และสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) และมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับบุหรี่สูงกว่าก่อนการทดลอง และสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า ผลของการใช้โปรแกรมทักษะชีวิตป้องกันการสูบบุหรี่กับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นนั้น สามารถเพิ่มความรู้และทักษะปฏิเสธการสูบบุหรี่ ดังนั้นผลการศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับบุคลากรสาธารณสุขและสถานศึกษาในการวางแผนและการดำเนินงานโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพในโรงเรียนมัธยมศึกษาถึงพฤติกรรมป้องกันการสูบบุหรี่อย่างต่อเนื่อง

Title Alternate Effectiveness of the living skill program to prevent smoking in the student of secondary school: a case study of one school in Ubon Ratchathani Province