การเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานและปัจจัยภายในองค์กรที่มีผลต่อความสุขในการทำงานระหว่างพนักงานเทศบาลและพนักงานจ้างของเทศบาลตำบล ในจังหวัดอุบลราชธานี

Titleการเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานและปัจจัยภายในองค์กรที่มีผลต่อความสุขในการทำงานระหว่างพนักงานเทศบาลและพนักงานจ้างของเทศบาลตำบล ในจังหวัดอุบลราชธานี
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2560
Authorsนันทนา ละม่อม
Degreeบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
Institutionคณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberJS น418 2560
Keywordsความพอใจในการทำงาน--อุบลราชธานี, ความสุขในการทำงาน, คุณภาพชีวิตการทำงาน--อุบลราชธานี, พนักงานเทศบาล--การทำงาน
Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ
1)เปรียบเทียบความสุขในการทำงานของพนักงานเทศบาลและพนักงานจ้างของเทศบาลตำบลตามปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกัน
2)ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยภายในองค์กร ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานกับความสุขในการทำงานของพนักงานเทศบาลและพนักงานจ้างของเทศบาลตำบล
3)ศึกษาปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ ปัจจัยภายในองค์กร และประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานที่มีผลต่อความสุขในการทำงาน
กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานเทศบาลและพนักงานจ้างของเทศบาลตำบล ในจังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 390 คน จาก 25 อำเภอ สุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยงเท่ากับ 0.94 วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงบรรยาย การทดสอบที วิเคราะห์ความแปรปรวน สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า 1) ช่วงอายุ สถานภาพสมรส และประสบการณ์การทำงานของพนักงานเทศบาลและพนักงานจ้างของเทศบาลตำบลแตกต่างกันทำให้ความสุขในการทำงานแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2) ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์แบบเพียร์สัน พบว่า ปริมาณงาน ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล เวลา ค่าใช้จ่าย คุณภาพงาน มีความสัมพันธ์กับความสุขในการทำงานในระดับสูงทางบวก โดยมีขนาดความสัมพันธ์ (rxy) เท่ากับ 0.697, 0.673, 0.654, 0.635 และ 0.624 ตามลำดับอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ส่วนลักษณะของงาน ผลลัพธ์ที่คาดหวัง สภาพแวดล้อมในการทำงาน มีความสัมพันธ์กับความสุขในการทำงานในระดับปานกลางทางบวก โดยมีขนาดความสัมพันธ์ (rxy) เท่ากับ 0.568 0.563 และ 0.558 ตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ส่วนปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ สถานภาพสมรส อายุ มีความสัมพันธ์กับความสุขในการทำงาน ในระดับต่ำมากทางบวก โดยมีขนาดความสัมพันธ์ (rxy) เท่ากับ 0.149 และ 0.119 ตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 0.05 ตามลำดับ 3) ผลการวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ พบว่า ตัวแปรทำนายทั้ง 15 ตัว มีความสัมพันธ์กับตัวแปรความสุขในการทำงานระดับสูงมาก (R=0.80) ค่าสัมประสิทธิ์การทำนายมีค่าเท่ากับ 0.630 นั่นคือ ชุดตัวแปรต้นสามารถทำนายความสุขในการทำงานได้ร้อยละ 63 โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานมี 8 ตัวแปร ดังนี้ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (β=0.27) ด้านปริมาณ (β=0.19) ด้านเวลา (β=0.18) ผลลัพธ์ที่คาดหวัง (β=0.15) ด้านค่าใช้จ่าย (β=0.14) ด้านสถานภาพ (β=0.10) ด้านประเภทบุคลากร (β=0.11) และสภาพแวดล้อมในงาน (β=0.09)

Title Alternate The comparison of work efficiency and internal organization factors infuencing municipal employees and hiring employees happiness in work of subdistrict municipality in Ubon Ratchathni province
Fulltext: