การพัฒนาระบบจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนรู้แบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์

Titleการพัฒนาระบบจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนรู้แบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2559
Authorsบุณณดา คำเสียง
Degreeวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต--สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
Institutionคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberLB บ621 2559
Keywordsการจัดการเรียนรู้, การเรียนการสอนผ่านเว็บ, การเรียนการสอนออนไลน์, คอมพิวเตอร์--การศึกษาและการสอน, คอมพิวเตอร์--คอมพิวเตอร์ช่วยการสอน
Abstract

การค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและพัฒนาระบบจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์ในรูปแบบเว็บแอปพลิเคชันเพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนรู้แบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ ผู้ใช้งานระบบแบ่งเป็นผู้เรียน ผู้สอนและผู้ดูแลระบบ โดยที่ผู้สอนสามารถสร้างรายวิชา จัดการบทเรียน ให้ผู้เรียนสามารถศึกษาเนื้อหาผ่านระบบ ทำกิจกรรมกลุ่มและทำแบบทดสอบก่อนเรียนหลังเรียนตามที่ผู้สอนสร้างไว้ ระบบสามารถตรวจให้คะแนนการทำแบบทดสอบและจัดกลุ่มผู้เรียนได้อัตโนมัติตามผลการทดสอบก่อนเรียน ระบบพัฒนาด้วยภาษาพีเอชพี (PHP) ร่วมกับเฟรมเวิร์คลาราเวล (Laravel Framework) และฐานข้อมูลมายเอสคิวแอล (MySQL) สถิติที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน E1/E2 และ t-test ผลการทดสอบประสิทธิภาพของระบบโดยการทดลองใช้งานของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง วิทยาลัยเทคนิคหลวงพ่อคูณปริสุทฺโธ จำนวน 35 คน พบว่า ระบบจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนรู้แบบแบ่งกลุ่ม ผลสัมฤทธิ์ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 86.67/85.43 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 (t-test = 13.88) และผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยระบบจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนรู้แบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ อยู่ในระดับมากที่ค่าเฉลี่ยโดยรวม (ค่าเฉลี่ย) เท่ากับ 3.64 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) เท่ากับ 0.76 ซึ่งสรุปได้ว่า ระบบที่พัฒนาขึ้นตอบสนองต่อการความต้องการของผู้ใช้และสนับสนุนการจัดการเรียนรู้แบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ได้ดี

Title Alternate Development of online learning management system for supporting student teams achievement division learning