Title | การพัฒนาผลสัมฤทธิ์และความคงทนทางการเรียน เรื่อง เซลล์ของสิ่งมีชีวิต วิชาชีววิทยา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์ |
Publication Type | วิทยานิพนธ์/Thesis |
Year of Publication | 2560 |
Authors | มาริษา พานจันทร์ |
Degree | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต--สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา |
Institution | คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี |
City | อุบลราชธานี |
Call Number | QH ม475 2560 |
Keywords | การสอนวิทยาศาสตร์, ชีววิทยา--การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา), ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, วิทยาศาสตร์--การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา), สิ่งมีชีวิต--กิจกรรมการเรียนการสอน |
Abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง เซลล์ของสิ่งมีชีวิต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 และดัชนีประสิทธิผล 0.5 2) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รวมทั้งศึกษาความก้าวหน้าทางการเรียน 3) ศึกษาความคงทนของความรู้ของนักเรียน และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง เซลล์ของสิ่งมีชีวิต จำนวน 12 ชั่วโมง โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 29 คน ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนเบญจลักษ์พิทยา ทดสอบหลังเรียน 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 คือ หลังเรียนเสร็จ และครั้งที่ 2 หลังจากการจัดการเรียนรู้ทั้งหมดผ่านไปแล้ว 2 สัปดาห์ และประเมินความพึงพอใจหลังเรียนเสร็จ ผลการวิจัย พบว่า 1) ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์มีค่าเท่ากับ 84.64/80.09 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้ และดัชนีประสิทธิผลของกิจกรรมมีค่าเท่ากับ 0.71 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 2) นักเรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ทั้งโดยรายชั้นและภายในกลุ่มของนักเรียน และนักเรียนทั้งชั้นมีความก้าวหน้าของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอยู่ในระดับสูง (0.71) 3) คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนทั้ง 2 ครั้ง ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แสดงให้เห็นว่านักเรียนมีความคงทนของความรู้ และ 4) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับมาก |
Title Alternate | The development and retention of grade 10 student's achievement in biology on cell of living organisms by scientific inquiry |