การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง การแลกเปลี่ยนแก๊สและระบบไหลเวียนเลือด โดยใช้วัฎจักรการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 5 ขั้น

Titleการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง การแลกเปลี่ยนแก๊สและระบบไหลเวียนเลือด โดยใช้วัฎจักรการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 5 ขั้น
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2559
Authorsวรรณิศา จินนะ
Degreeวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต--สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา
Institutionคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberQP ว269 2559
Keywordsการสอนวิทยาศาสตร์, การเรียนรู้แบบสืบเสาะ 5 ขั้น, กิจกรรมการเรียนรู้แบบ 5 อี, ชีววิทยา--กิจกรรมการเรียนการสอน, เลือด--การไหลเวียน--การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)
Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิภาพและดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 5 ขั้น 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนเทียบกับเกณฑ์ ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม 4) วิเคราะห์หาความก้าวหน้าทางการเรียนของนักเรียน และ 5) สอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 31 คน ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนนาน้อย อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 5 ขั้น แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจ พบว่า 1) ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ มีค่าเท่ากับ 83.65/78.79 มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้ และค่าดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้มีค่าเท่ากับ 0.7015 2) คะแนนหลังเรียนของนักเรียนสูงกว่าคะแนนก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (t=28.60, p=0.00) 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 78.79 มีนักเรียนร้อยละ 87.10 ของนักเรียนทั้งหมดที่ผ่านเกณฑ์คะแนนร้อยละ 70 4) นักเรียนมีความก้าวหน้าเฉลี่ยเท่ากับ 0.70 ซึ่งจัดอยู่ในระดับสูง และ 5) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 5 ขั้น อยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.73

Title Alternate The development of grade 10 student's learning achievement on gas exchange and circulatory system using 5E inquiry learning cycle
Fulltext: