Title | การพัฒนาความเข้าใจมโนมติวิทยาศาสตร์ เรื่อง โมล ความเข้มข้น และสมบัติคอลลิเกทีฟของสารละลาย ด้วยการเรียนรู้แบบสืบเสาะสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 |
Publication Type | วิทยานิพนธ์/Thesis |
Year of Publication | 2560 |
Authors | วิทยา วินาโร |
Degree | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต--สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา |
Institution | คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี |
City | อุบลราชธานี |
Call Number | QD ว582 2560 |
Keywords | การสอนวิทยาศาสตร์, การสอนแบบสืบสวนสอบสวน, วิทยาศาสตร์--การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา), เคมี--การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา), โมลและสารละลาย--การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา) |
Abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความเข้าใจมโนมติวิทยาศาสตร์ของนักเรียน เรื่อง โมล ความเข้มข้นและสมบัติคอลลิเกทีฟของสารละลาย ด้วยการเรียนรู้แบบสืบเสาะ โดยมีกลุ่มที่ศึกษาเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 38 คน จากโรงเรียนสรรพวิทยาคม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ กิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะ เรื่อง โมล ความเข้มข้นและสมบัติคอลลิเกทีฟของสารละลาย จำนวน 15 ชั่วโมง เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ ข้อสอบวัดความเข้าใจมโนมติแบบวินิจฉัยสองลำดับขั้น จากการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การทดสอบค่าทีแบบตัวอย่างไม่อิสระต่อกันพบว่า นักเรียนมีคะแนนความเข้าใจมโนมติหลังเรียน (ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 38.95 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 8.13) สูงกว่าก่อนเรียน (ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 9.63 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 2.40) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น ร้อยละ 95 จากการจำแนกกลุ่มมโนมติโดยพิจารณาเฉพาะขั้นการแสดงเหตุผล พบว่า หลังเรียนมีร้อยละของนักเรียนที่ไม่มีความเข้าใจมโนมติ (NU) ลดลง 64.60 ส่วนร้อยละของนักเรียนที่มีความเข้าใจคลาดเคลื่อน (AU) และถูกต้อง (GU) เพิ่มขึ้น 13.60 และ 51.00 ตามลำดับ และเมื่อจำแนกกลุ่มมโนมติโดยพิจารณาทั้งขั้นตัวเลือกและขั้นการแสดงเหตุผลพบว่าหลังเรียนมีผลรวมร้อยละของนักเรียนที่ไม่มีความเข้าใจมโนมติและความเข้าใจมโนมติไม่ถูกต้อง (NU+MU) ลดลงจากก่อนเรียนเป็น 40.45 ส่วนผลรวมร้อยละของนักเรียนที่มีความเข้าใจมโนมติถูกต้องเป็นส่วนใหญ่และถูกต้องสมบูรณ์ (PU+GU) เพิ่มขึ้นจากก่อนเรียนเป็น 56.94 นอกจากนี้ นักเรียนยังมีร้อยละของความก้าวหน้าทางการเรียนจริงเป็น 48.86 และมีความก้าวหน้าทางการเรียนแบบปกติอยู่ระดับปานกลาง (=0.58) แสดงให้เห็นว่า กิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะสามารถพัฒนาความเข้าใจมโนมติของนักเรียน เรื่อง โมล ความเข้มข้นและสมบัติคอลลิเกทีฟของสารละลายได้อย่างมีประสิทธิภาพ |
Title Alternate | The development of scientific conceptual understanding of mole, concentration and colligative properties of solution by using inquiry learning for grade-10 students |