การเพิ่มประสิทธิภาพเชิงความร้อนของเตาแก๊สหุงต้มแบบ Vertical ports โดยการไหลแบบหมุนวน

Titleการเพิ่มประสิทธิภาพเชิงความร้อนของเตาแก๊สหุงต้มแบบ Vertical ports โดยการไหลแบบหมุนวน
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2559
Authorsจีระวุฒิ ประกอบดี
Degreeวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต--สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
Institutionคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberTH จ569ก 2559
Keywordsประสิทธิภาพเชิงความร้อน, มลพิษ, เตาแก๊ส, เตาแก๊สหุงต้มแบบ vertical port, เตาแบบหมุนวน
Abstract

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพเชิงความร้อนของเตาแก๊สหุงต้มในครัวเรือน ที่มีปริมาณการใช้แก๊สแอลพีจี (Liquefied Petroleum Gas: LPG) สูงสุดไม่เกิน 5.78 kW ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก.2312-2549 โดยทำการออกแบบหัวเตาแก๊สจากแบบ Vertical port แบบมาตรฐาน (Conventional Burner: CB) มาเป็นแบบหมุนวน (Swirling Burner: SB) ที่มีมุมเอียง (α) และมุมเงย (β) ซึ่งทำการทดสอบประสิทธิภาพเชิงความร้อน โดยอาศัยหลักการต้มน้ำ (Boiling test) ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก. 2312-2549 และทำการตรวจวัดมลพิษที่เกิดจากการเผาไหม้ ในงานวิจัยนี้ได้ศึกษาอิทธิพลของตัวแปรต่าง ๆ คือ Firing rate (Fr) มุมเอียง (α) และมุมเงย (β) ชนิดและขนาดของภาชนะต่อประสิทธิภาพเชิงความร้อน จากการทดลองพบว่า เมื่อ firming rate เพิ่มสูงขึ้นประสิทธิภาพเชิงความร้อนจะมีค่าต่ำลง อย่างไรก็ตาม ประสิทธิภาพเชิงความร้อนจะมีค่าสูงขึ้นเมื่อภาชนะมีขนาดใหญ่ขึ้น โดยเตาที่มีมุมเอียงเท่ากับ 30 องศา และมุมเงยเท่ากับ 90 องศา จะเป็นเตาที่ให้ประสิทธิภาพเชิงความร้อนสูงสุด โดยมีประสิทธิภาพเชิงความร้อนสูงสุดเท่ากับร้อยละ 62 เมื่อทดสอบที่ firming rate เท่ากับ 2.69 kW ร่วมกับหม้อเบอร์ 32 cm ซึ่งคิดเป็นการประหยัดสูงถึงร้อยละ 12.61 โดยมีปริมาณ CO และ NOx มีค่าสูงสุดไม่เกิน 178 ppm และ 23 ppm ตามลำดับ สำหรับทุกกรณี

Title Alternate Thermal efficiency improvement of vertical ports cooking burner using swiring flow