Title | การพัฒนามโนมติวิทยาสาสตร์ เรื่องการเขียนสูตรและการเรียกชื่อสารประกอบไอออนิก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้แอปพลิเคชัน 4D elements และแบบจำลองสารประกอบไอออนิก |
Publication Type | วิทยานิพนธ์/Thesis |
Year of Publication | 2560 |
Authors | ทิพานัน ศรีสุขวัฒนกิจ |
Degree | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต--สาขาวิชาวิทยาศาสตรศึกษา |
Institution | คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี |
City | อุบลราชธานี |
Call Number | QD ท486ก 2560 |
Keywords | การสอนวิทยาศาสตร์, มโนมติวิทยาศาสตร์, เคมี--การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา), แอปพลิเคชัน 4D elements |
Abstract | งานวิจัยนี้เป็นการใช้แอปพลิเคชันในมือถือชื่อ 4D Elements ภายใต้เครื่องหมายการค้า DAQRI และแบบจำลองสารประกอบไอออนิก ในการจัดการเรียนรู้เรื่องการเขียนสูตรและการเรียกชื่อสารประกอบไอออนิกงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน 2) เพื่อศึกษาความก้าวหน้าทางการเรียน และ 3)เพื่อศึกษาความเข้าใจมโนมติวิทยาศาสตร์เรื่องการเขียนสูตรและการเรียนชื่อสารประกอบไอออนิกโดยใช้ แอปพลิเคชัน 4D Elements ซึ่งเป็นแอปพลิเคชันที่จะช่วยเพิ่มประสบการณ์เหมือนจริงของธาตุและสารประกอบ และแบบจำลองสารประกอบไอออนิก ในการอธิบายเกี่ยวกับการเกิดสารไอออนของธาตุ และการเกิดสารประกอบไอออนิก กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 10 คน ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 6 แผน และแบบทดสอบวัดความเข้าใจ 2 ลำดับขั้น จำนวน 20 ข้อ โดยในข้อคำถาม 1 ข้อ จะประกอบด้วยส่วนที่ 1 จะเป็นคำถามในเนื้อหาที่เรียน ส่วนที่ 2 จะเป็นการใช้เหตุผล จากการวิเคราะห์ข้อมูลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยเปรียบเทียบคะแนนก่อนและหลังเรียนจากกลุ่มตัวอย่างที่ไม่เป็นอิสระจากกันพบว่า นักเรียนมีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อศึกษาความก้าวหน้าทางการเรียนพบว่า เรื่องอัตราส่วนจำนวนอะตอมที่ใช้ในการเกิดสารประกอบไอออนิกมีความก้าวหน้าทางการเรียนมากที่สุด อยู่ในระดับสูง และเรื่องการเขียนสูตรและการเรียกชื่อสารประกอบไอออนิก ซึ่งมีความก้าวหน้าทางการเรียนอยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อวิเคราะห์ความเข้าใจมโนมติวิทยาศาสตร์ พบว่า นักเรียนมีความเข้าใจที่สมบูรณ์ขึ้นจากร้อยละ 0.00 เป็นร้อยละ 53.50 จำนวนนักเรียนที่ไม่แสดงความคิดเห็น ลดลงจากร้อยละ 93.00 เป็นร้อยละ 18.50 และร้อยละ 20.50 ของนักเรียนที่มีความเข้าใจคลาดเคลื่อนบางส่วน เนื่องจากนักเรียนบางคนยังมีความสับสนในเรื่องของเลขออกซิเดชันของธาตุทรานซิชันและชื่อของธาตุที่มีสัญลักษณ์ธาตุคล้ายกัน |
Title Alternate | Development of scientific conceptual understanding on formula and naming of ionic compounds for grade 10 students using 4D elements application and ionic compounds model |