Title | แนวคิดปิตาธิปไตยในพระวินัยปิฎก |
Publication Type | วิทยานิพนธ์/Thesis |
Year of Publication | 2559 |
Authors | พระเมษชัย ใจสำราญ |
Degree | รัฐศาสตรมหาบัณฑิต -- สาขาวิชาการปกครอง |
Institution | คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี |
City | อุบลราชธานี |
Call Number | BQ พ361น 2559 |
Keywords | ปิตาธิปไตย, ผู้หญิง, พระวินัยปิฎก, พุทธศาสนา, สิทธิสตรี--แง่ศาสนา--พุทธศาสนา |
Abstract | วิทยานิพนธ์นี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดปิตาธิปไตยในพระวินัยปิฎก โดยใช้วิธีวิจัยเชิงเอกสาร การวิเคราะห์ตีความเนื้อหาในพระวินัยปิฎก จำนวน 5 คัมภีร์ ตามกรอบแนวคิดปิตาธิปไตย ผลของการศึกษาพบว่า ปรากฏเนื้อหาที่มีลักษณะการควบคุมในแนวคิดปิตาธิปไตยใน 3 ลักษณะ คือ (1) ในลักษณะของการควบคุมการให้กำเนิดและการเลี้ยงดูเด็กของผู้หญิง (2) ในลักษณะของการควบคุมในเรื่องเพศวิถีของผู้หญิง และ (3)ในลักษณะของการควบคุมสถานภาพหรือการเคลื่อนไหวทางสังคมของผู้หญิง ในพระวินัยปิฎกจำนวนทั้งสิ้น 3 คัมภีร์ ซึ่งประกอบไปด้วยเนื้อหาในเรื่องต้นบัญญัติจำนวน 45 เรื่อง ทั้งนี้แม้ว่าเนื้อหาในเรื่องต้นบัญญัติในพระวินัยปิฎกบางเรื่องจะพบความเป็นปิตาธิปไตย แต่ก็อยู่ในระดับที่เบาบางซึ่งไม่ชัดเจนพอที่จะสามารถวิเคราะห์ตีความว่าถึงขั้นระดับที่มีการควบคุมในแนวคิดและทฤษฎีที่นำมาวิเคราะห์ ส่วนมากจะเป็นไปในลักษณะที่ให้โอกาสหรือสิทธิแก่ผู้ชายมากกว่าผู้หญิงเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ในจำนวนเรื่องต้นบัญญัติทั้ง 45 เรื่อง ที่พบว่ามีเนื้อหาที่มีลักษณะการควบคุมในแนวคิดปิตาธิปไตยทั้งที่เป็นเนื้อหาที่ใช้ประกอบการบัญญัติสิกขาบทและเนื้อหาของตัวสิกขาบทที่ถูกบัญญัติขึ้นนั้น หากพิจารณาในแง่ของปัจจัยแวดล้อมทางสังคมจะเห็นได้ว่า เนื่องจากสภาพสังคมของอินเดียในเวลานั้นซึ่งได้รับอิทธิพลจากศาสนาพราหมณ์ซึ่งเป็นรากฐานวัฒนธรรมของอินเดียที่ถือว่าผู้ชายเป็นใหญ่ เป็นผู้นำ ยังไม่ยอมรับสิทธิความเสมอภาคระหว่างหญิงชาย พระพุทธศาสนาซึ่งเกิดขึ้นท่ามกลางสภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรมดังกล่าว จึงไม่มีสิทธิ์ที่จะไปเปลี่ยนแปลงได้ สิ่งที่ทำได้ในขณะนั้นคือ เสนอโอกาสเพื่อให้ผู้หญิงนั้นสามารถที่จะยกฐานะของตนให้ขึ้นมาทัดเทียมกับผู้ชายให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยการอนุญาตให้ผู้หญิงบวช แต่กระนั้นพุทธศาสนาก็ยังคงเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องยอมรับ “ข้อจำกัด” ที่เป็นเงื่อนไขทางสังคมดังกล่าวมานี้ เมื่อผู้หญิงบวชเข้ามาและมีการบัญญัติสิกขาบทขึ้น เนื้อหาในเรื่องต้นบัญญัติที่ใช้ประกอบการบัญญัติสิกขาบทและเนื้อหาของตัวสิกขาบท อาจมีข้อความที่มีลักษณะการควบคุมในแนวคิดปิตาธิปไตยแฝงอยู่ ซึ่งเมื่อพิจารณาจากเหตุปัจจัยแวดล้อมดังที่ได้กล่าวมานี้สิกขาบทที่ทรงบัญญัติขึ้นอาจจะไม่ได้มีเจตนาหรือความตั้งใจที่จะควบคุมหรือให้ความเหนือกว่าของภิกษุและยัดเยียดความเป็นรอง หรือเบี้ยล่างแก่ภิกษุฯเข้าไปในบทบัญญัติแต่อย่างใด |
Title Alternate | A concept of patriarchy in Vinaya Pitaka |