การดูดซับสีย้อมมาลาไคท์กรีนโดยใช้ฟิล์มคอมโพสิต

Titleการดูดซับสีย้อมมาลาไคท์กรีนโดยใช้ฟิล์มคอมโพสิต
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2559
Authorsพัชราภรณ์ จันทวี
Degreeวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต -- สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
Institutionคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberTP พ518ก 2559
Keywordsการดูกซับสี, ฟิล์มคอมโพสิต, สีย้อมและการย้อมสี
Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดูดซับสีย้อมมาลาไคท์กรีน (Malachite green: MG) จากสารละลายโดยใช้ฟิล์มคอมโพสิตธรรมชาติ (CN film) ฟิล์มคอมโพสิตทางการค้า (CC film) ฟิล์มเพคตินธรรมชาติ (PN film) ฟิล์มเพคตินทางการค้า (PC film) และแร่ดินมอนต์มอริลโลไนต์ (MMT) เป็นตัวดูดซับ ฟิล์มคอมโพสิตเตรียมจากสารแขวนลอยที่มีส่วนผสมของ MMT เพคติน และโซเดียมอัลจิเนต ซึ่งเพคตินธรรมชาติได้จากการสกัดของเปลือกเสาวรส (Passiflora edulis f.flavicarpa) จากผลการวิเคราะห์คุณสมบัติของตัวดูดซับ พบว่า พื้นที่ผิวจำเพาะของ CN film และ CC film สูงกว่า PN film แต่ขนาดของรูพรุนเฉลี่ยของ CN film เล็กกว่า ผลการวิเคราะห์ IR spectrum ด้วยเครื่องฟูเรียร์ทรานสฟอร์มอินฟราเรด สเปกโตรโฟโตมิเตอร์ แสดงให้เห็นว่าใน IR spectrum ของฟิล์มคอมโพสิต มีการปรากฏหมู่ฟังก์ชันของ MMT ร่วมด้วย ผลการวิเคราะห์สัณฐานวิทยาของตัวดูดซับด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด พบว่ามีอนุภาคของ MMT ปรากฏในฟิล์มคอมโพสิตทั้งสองชนิด
ผลการศึกษาการดูดซับแบบกะ แสดงให้เห็นว่ามีปริมาณการดูดซับสีย้อม MG ของ CN film, CC film, PN film และ PC film เท่ากับร้อยละ 75, 68.45, 2.03 และ 1.33 ตามลำดับ ปริมาณการดูดซับสูงที่สุด ถูกพบที่ค่าพีเอช 2 และอุณหภูมิมีผลต่อปริมาณในการดูดซับน้อยมาก พฤติกรรมการดูดซับมีความสอดคล้องกับไอโซเทอมแบบแลงเมียร์และแบบจำลองจลนพลศาสตร์การดูดซับอันดับสองเทียม ปริมาณการดูดซับแบบชั้นเดียวสูงสุดเท่ากับ 54.92 mg/g และการดูดซับสีย้อมเข้าสู่สมดุลภายในเวลา 180 นาที จากผลการทดลองข้างต้นแสดงให้เห็นว่า CN film สามารถใช้เป็นตัวดูดซับที่มีประสิทธิภาพสำหรับการกำจัดสีย้อม MG จากน้ำเสียได้

Title Alternate Adsorption of malachite green dye using composite film