การศึกษาสถานการณ์และแนวโน้มของพฤติกรรมที่สัมพันธ์ต่อการติดเชื้อเอชไอวีของ วัยรุ่น จังหวัดศรีสะเกษ พ.ศ. 2548-2550 : กรณีศึกษาในกลุ่มนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2, 5 และอาชีวศึกษาชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 2

Titleการศึกษาสถานการณ์และแนวโน้มของพฤติกรรมที่สัมพันธ์ต่อการติดเชื้อเอชไอวีของ วัยรุ่น จังหวัดศรีสะเกษ พ.ศ. 2548-2550 : กรณีศึกษาในกลุ่มนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2, 5 และอาชีวศึกษาชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 2
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2550
Authorsพูลศรี ศิริโชติรัตน์
Degreeวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต -- สาขาวิชาการบริหารบริการสุขภาพ
Institutionคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberRA พ867ก
Keywordsโรคเอดส์--การแพร่ระบาด--ไทย--ศรีสะเกษ, โรคเอดส์ในวัยรุ่น--ไทย--ศรีสะเกษ
Abstract

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์และแนวโน้มของพฤติกรรมที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อเอชไอวีในกลุ่มนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 5 และอาชีวศึกษาชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 2 จังหวัดศรีสะเกษ ปี พ.ศ. 2548-2550 เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาโดย ศึกษาข้อมูลย้อนหลัง จากข้อมูลระบเฝ้ระวังพฤติกรรมที่สัมพันธ์ต่อการติดเชื้อเอชไอวีย้อนหลังตั้งแต่ปี 2548-2550 ข้อมูลที่ผ่านการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ให้ตอบแบบสอบถามด้วยตัวเอง โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์มือถือรุ่น Zire 21 ประกอบด้วยข้อมูลทั่วไป ประสบการณ์การร่วมเพศ ประสบการณ์การใช้สารเสพติดและควารู้คงวามตระหนักเกี่ยวกับโรคเอดส์ของกลุ่มตัวอย่าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป Epi Info.2002 for Windows Version 3.2
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น จำนวน 6847 ราย เป็นเพศชายร้อยละ 43.8 เพศหญิงร้อยละ 57.2 ส่วนใหญ่พักอาศัยอยู่กับบิดาและมารดา พฤติกรรมการเจ้าถึงสื่อลามกพบว่า มีแนวโน้มค่อนข้างสูงขึ้นในทุกชั้นเรียน เพศชายจะมีการเข้าถึงสื่อลามกประเภทต่าง ๆ ได้มากกว่า เพศหญิง โดยเคยดูหนังสือโป๊ วีซีดีโป๊ วีดีโอโป๊สูงถึง ร้อยละ 44.4 และเคยใช้คอมพิวเตอร์เข้าเว็บไซต์โป๊ ร้อยละ 26 ส่วนใหญ่มีเพศสัมพันธ์กับแฟน หรือคู่รัก โดยผลการศึกษาในนักเรียนชาย พบ ร้อยละ 76.3 นักเรียนหญิง ร้อยละ 90.6 นักเรียนหญิงส่วนใหญ่มีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกด้วยความสมัครใจสูงถึง ร้อยละ 70.7 กลุ่มตัวอย่างมีการใช้ถุงยางอนามัยในการมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกเพียงร้อยละ 54.0 อัตราการใช้ถุงยางอนามัยกับแฟนหรือคู่รักในรอบปีที่ผ่านมาในเพศชาย ร้อยละ 27.3 เพศหญิง ร้อยละ 14.0 การมีเพศสัมพันธ์โดยได้รับสิ่งตอบแทน ร้อยละ 10.8 และ 12 เดือนที่ผ่านมา กลุ่มตัวอย่างมีการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ก่อนร่วมเพศ ร้อยละ 51.3 และมีใช้สารเสพติดก่อนร่วมเพศ ร้อยละ 12.7 ความรู้เรื่องโรคเอดส์ของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับต่ำมาก มีการตอบคำถามถูกต้อง (จำนวน 5 ข้อ) ตามตัวชี้วัดของ UNGASS ร้อยละ 32.9 และตอบคำถามถูกครบทุกข้อ (จำนวน 7 ข้อ) ตามแบบสอบถามของสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขเพียงร้อยละ 6.2
ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า เยาวชน หรือวัยรุ่นมีพฤติกรรมที่สัมพันธ์ต่อการติดเชื้อเอชไอวีเพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย การใช้ถุงยางอนามัยในอัตราที่ต่ำ การได้รับสื่อเร้าทางเพศโดยขาดการควบคุม การใช้สารเสพติด การขาดความรู้ ความเข้าใจที่นำไปสู่การปฏิบัติตนในการป้องกันตนเองที่ถูกต้อง ปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้จำเป็นจำต้องใช้ความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และครอบครัว ในการร่วมกันกำหนดมาตรการต่าง ๆ ที่จะนำมาใช้เพื่อช่วยส่งเสริมและควบคุมให้วัยรุ่นมีพฤติกรรมที่ถูกต้อง เหมาะสม และเกิดความตระหนักในการป้องกัรตรเองให้ปลอดภัยจากโรคเอดส์

Title Alternate The study of situation and trend of behaviours related to HIV infection in high school grade 8 and 11 and 2nd year vocational students: a case study of Srisaket, year 2005-2007