การพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอย่างสร้างสรรค์ ชุมชนบ้านนาเยีย ตำบลนาเยีย อำเภอนาเยีย จังหวัดอุบลราชธานี

Titleการพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอย่างสร้างสรรค์ ชุมชนบ้านนาเยีย ตำบลนาเยีย อำเภอนาเยีย จังหวัดอุบลราชธานี
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2559
Authorsสุดารัตน์ สุวรรณกูฏ
Degreeศิลปศาสตรมหาบัณฑิต -- สาขาวิชานวัตกรรมการท่องเที่ย
Institutionคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberG ส769ก 2559
Keywordsการท่องเที่ยวเชิงเกษตร--อุบลราชธานี, กิจกรรมการท่องเที่ยว, อุบลราชธานี--ภูมิประเทศและการท่องเที่ยว
Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรชุมชนบ้านนาเยีย ตำบลนาเยีย อำเภอนาเยีย จังหวัดอุบลราชธานี มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย 3 ข้อ คือ (1) เพื่อประเมินศักยภาพด้านทรัพยากรทางการเกษตรของชุมชนบ้านนาเยีย รวมถึงเอกลักษณ์ วิถีชีวิต และวัฒนธรรม ที่เอื้อต่อการพัฒนาให้เกิดการท่องเที่ยวเชิงเกษตรและกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่เหมาะสมกับพื้นที่ (2) เพื่อศึกษาความพร้อมของคนในชุมชนและความต้องการของนักท่องเที่ยวในการพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอย่างสร้างสรรค์ชุมชนบ้านนาเยีย ตำบลนาเยีย อำเภอนาเยีย จังหวัดอุบลราชธานี (3) เพื่อนำเสนอรูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอย่างสร้างสรรค์ในชุมชนบ้านนาเยีย ตำบลนาเยีย อำเภอนาเยีย จังหวัดอุบลราชธานี ให้สอดคลองกับทรัพยากรและศักยภาพของชุมชน การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) และเชิงปริมาณ (Quantitative research) นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ควบคู่กับบริบทและใช้สถิติเชิงพรรณนามาประกอบการอภิปรายผล
ผลการศึกษาพบว่า ศักยภาพด้านทรัพยากรทางการเกษตรที่เอื้อต่อการจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตรชุมชนบ้านนาเยียเป็นชุมชนเกษตรกรรมคนในชุมชนส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกร ทรัพยากรทางการเกษตรที่สำคัญ คือ แปลงนา แบ่งเป็นสองรูปแบบ คือ แปลงนาอินทรีย์ปลอดสารเคมีและแปลงนาทั่วไปที่ยังใช้สารเคมีอยู่ มีการส่งเสริมให้คนในชุมชนหันมาทำนาอินทรีย์และตระหนักถึงผลเสียของสารเคมีที่มีผลกระทบต่อสุขภาพทั้งเกษตรกร และมีทรัพยากรการท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่โดดเด่นอย่างแม่น้ำลำโดมใหญ่ และทรัพยากรการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม เช่น วัดป่าอุดมวนาสันต์ วัดป่านาเยีย วัดป่านาเจริญ เป็นต้น มีประเพณีแบบดั้งเดิมที่ยังคงสืบทอดมาตั้งแต่โบราณ เช่น บุญแข่งเรือยาวที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี เป็นต้น ค่าเฉลี่ยจากแบบสอบถามพบว่า ศักยภาพที่ชุมชนมีมากที่สุดคือ ศักยภาพการดึงดูดใจของแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร และศักยภาพที่น้อยที่สุดคือ ศักยภาพการรองรับของแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร และแบบสอบถามความพร้อมของกิจกรรมการท่องเที่ยวพบว่าชุมชนได้คะแนนความพร้อมด้านกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่นักท่องเที่ยวมีส่วนร่วมสูงสุด และได้คะแนนความพร้อมด้านสถานที่จัดกิจกรรมน้อยที่สุด

Title Alternate The development of creative activities for agro-tourism in Nayia community, Nayia sub-district, Nayia district, Ubon Ratchathani province