Title | การศึกษาเชิงบูรณาการเพื่อเพิ่มศักยภาพในการเลี้ยงปลาสวายโมงเพื่อการส่งออก |
Publication Type | งานวิจัย/Research report |
Year of Publication | 2559 |
Authors | กาญจนา พยุหะ, อินทิรา ซาฮีร์, ฉวีวรรณ อินทนนท์ |
Institution | คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี |
City | อุบลราชธานี |
Call Number | SH153.5 ก425ก 2559 |
Keywords | การส่งออกปลา, การเลี้ยงปลา, ปลา--การส่งออก, ปลา--การเลี้ยง--นครพนม, ปลาสวายโมง--การเลี้ยง |
Abstract | ในประเทศไทยการเลี้ยงปลากลุ่ม Pangasius ส่วนใหญ่เป็นการเลี้ยงโดยเกษตรกรรายย่อและเลี้ยงเพื่อบริโภคภายในประเทศ ในปี 2005 รัฐบาลไทยได้เริ่มโครงการนำร่องโครงการแรกสำหรับการส่งเสริมการส่งออกปลาลูกผสมกลุ่ม Pangasius ที่เลี้ยงในกระชังในแม่น้ำโขงจังหวัดนครพนม ซึ่งเป็นภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ได้มีการประเมินแนวโน้มและข้อจำกัดของประเทศไทย สำหรับการเลี้ยงและส่งออกปลาชนิดนี้ด้วยการสัมภาษณ์หลายภาคส่วนของธุรกิจ (เกษตรกร, พ่อค้าคนกลาง, โรงงานแปรรูป ผู้ส่งออก และผู้กำหนดนโยบาย)
การผสมพันธุ์เทียมแม่พันธุ์ปลาสวาย (P.hypophthalmus) และพ่อพันธุ์ปลาเผาะหรือปลาโมง (P.bocourti) ประสบผลสำเร็จทำให้ได้ลูกพันธุ์และอัตรารอดสูง ชื่อทางการค้าของปลาชนิดนี้คือ Thai Panga และชื่อท้องถิ่นคือ ปลาสวายโมง โดยปลาสวายโมงมีเนื้อสัมผัสคล้ายกับปลาโมง
เกษตรกรในจังหวัดนครพนม 400 ราย เข้าร่วมโครงการเลี้ยงปลาสวายโมงเพื่อการส่งออก เข้าร่วมโครงการนำร่องในระยะแรก (2005-2006) และระยะที่สอง (2007-2008) โดยรัฐบาลช่วยออกค่าใช้จ่ายต่าง ๆ การผลิตทั้งหมด ระยะเวลาในการเลี้ยง 11 เดือน ได้ปลาน้ำหนักประมาณ 800 กรัม ร่วมกับความร่วมมือของผู้ส่งออกปลาสวายโมงแล่เนื้อ ปริมาณ 11 ตัน ส่งออกไปประเทศสหรัฐอเมริกาในปี 2006 การผลิตทั้งหมด การแปรรูป และกระบวนการส่งออกดำเนินการโดยภาครัฐร่วมกับผู้ส่งออก สำหรับการเลี้ยงปลาเกษตรกรจ่ายเงิน 5 บาทต่อตัว (33 บาท= 1 ดอลลาร์สหรัฐ) เมื่อเกษตรกรลงทุนด้วยตนเอง พบว่า มีหลายปัจจัยที่น่ากังวล อาทิเช่น ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการผลิต ระยะเวลาเลี้ยง และราคาปลาที่รับซื้อหน้าฟาร์มก่อนเข้าโรงงานแปรรูปและผู้ส่งออก ประเทศไทยมีแนวโน้มสูงที่จะประสบความสำเร็จในการส่งออกปลาชนิดใหม่นี้ โรงงานแปรรูปของภาคเอกชนของไทยที่ประสบการณ์ที่ยาวนานและได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในผู้บริโภคระดับนานาชาติ การประยุกต์รูปแบบการเพาะเลี้ยงที่เคยมีมาเพื่อส่งเสริมการเลี้ยงปลาชนิดนี้ จะช่วยให้เกษตรกรลดราคาอาหารเม็ด (22-25 บาทต่อกิโลกรัม) และอัตราแลกเนื้อเท่ากับ 1.5-1.7 ขณะที่โรงงานแปรรูปสามารถรับซื้อปลาจากเกษตรกรได้ในราคา 30-35 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งเป็นแนวคิดที่ดีที่ภาครัฐต้องการเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรที่ยากจนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเป็นพื้นที่ที่มี GDP ต่ำที่สุดของประเทศ แต่การขยายโครงการนี้จำเป็นต้องได้รับการพิจารณาอย่างถี่ถ้วนจากหลายภาคส่วนของธุรกิจ เกษตรกรรายย่อยขาดแคลนเงินทุนและความรู้ด้านการจัดการการเลี้ยงจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ ดังนั้น หลายภาคส่วนธุรกิจจึงได้รับคำแนะนำให้จัดตั้งวิสาหกิจชุมชน ประกอบด้วยโรงเพาะฟัก การจัดจำหน่ายอาหาร โรงงานแปรรูป และอื่น ๆ เหมือนกับเกษตรกรเลี้ยงปลานิลรายย่อยส่วนใหญ่ที่สูญเงินกำไรให้แก่บริษัทอาหาร
|
Title Alternate | The integrated study for improvement the potential of the hybrid Pangasius culture for exportation |