Title | การศึกษาฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตและฤทธิ์เหนี่ยวนำการตายของเซลล์ของสารฟลาโวนอยด์ในพืชสมุนไพรพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานี วงศ์ Leguminosae |
Publication Type | งานวิจัย/Research report |
Year of Publication | 2560 |
Authors | นงนิตย์ ธีระวัฒนสุข, จินตนา นภาพร, สุรชัย จูมพระบุตร, ชุตินันท์ ประสิทธิ์ภูริปรีชา |
Institution | คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี |
City | อุบลราชธานี |
Call Number | RC271.H47 น138ก 2560 |
Keywords | พืชสมุนไพร--การใช้ประโยชน์ทางการแพทย์, ฟลาโวนอยส์, ฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์, ฤทธิ์เหนี่ยวนำการตายของเซลล์, สมุนไพรพื้นบ้าน, สารต้านมะเร็ง |
Abstract | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโต และฤทธิ์เหนี่ยวนำการตาลของเซลล์ของสารฟลาโวนอยด์ในพืชสมุนไพรพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานี วงศ์ Leguminosae ที่ได้จากส่วนต่าง ๆ ของพืชสมุนไพรจำนวน 9 ชนิด ได้แก่ กาสามปีก (ใบ) กาสามปีก (ต้น) แคบ้าน (ใบ) แคบ้าน (ต้น) คานเครือ (ใบ) คานเครือ (ต้น) หญ้ามดลิ่น (ส่วนเหนือดิน) ดูกอึ่ง (ใบ) ดูกอึ่ง (ต้น) ตองหมอง (ใบ) ตองหมอง (ต้น) หนามหัน (ใบ) หนามหัน (ต้น) บ้าบน (ใบ) ส้มเสี้ยว (ใบ) และส้มเสี้ยว (ต้น) ด้วยตัวทำละลาย methanol: H2O (9:1) ผลการทดสอบฤทธิ์ยับยั้งการเพิ่มจำนวนเซลล์เพาะเลี้ยงชนิด HeLa cell (antiproliferative activity) ของสารสกัดหยาบจำนวน 16 ชนิด ด้วยวิธี WST-1 reduction assay พบว่าสารสกัดที่มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์ที่ดีที่สุด มีค่าความเข้มข้นที่สามารถยับยั้งการเพิ่มจำนวนเซลล์ได้ร้อยละ 50 (IC50) ต่ำสุดคือ ตองหมอง (ต้น) (81.58 µg/mL) รองลงมาคือ กาสามปีก (ใบ) (105.20 µg/mL) หญ้ามดลิ่น (ส่วนเหนือดิน) (146.50 µg/mL) ดูกอึ่ง (ใบ) (149.93 µg/mL) หนามหัน (ต้น) (153.62 µg/mL) กาสามปีก (ต้น) (159.72 µg/mL) ส้มเสี้ยว (ต้น) (234.91 µg/mL) ดูกอึ่ง (ต้น) (273.08 µg/mL) คานเครือ (ต้น) (282.55 µg/mL) แคบ้าน (ต้น) (285.61 µg/mL) คานเครือ (ใบ) (317.82 µg/mL) ส้มเสี้ยว (ใบ) (422.11 µg/mL) ตองหมอง (ใบ) (508.70 µg/mL) หนามหัน (ใบ) (545.18 µg/mL) แคบ้าน (ใบ) (1193.63 µg/mL) และบ้าบน (ใบ) (1598.69 µg/mL) ตามลำดับ เมื่อนำสารสกัดพืชสมุนไพรที่มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์ดีที่สุด จำนวน 6 ชนิด ได้แก่ ตองหมอง (ต้น) กาสามปีก (ใบ) กาสามปีก (ต้น) หญ้ามดลิ่น (ส่วนเหนือดิน) ดูกอึ่ง (ใบ)และหนามหัน (ต้น) ไปศึกษาฤทธิ์เหนี่ยวนำการตาย (apoptotic inducing effects) ของเซลล์เพาะเลี้ยงชนิด HeLa cells เมื่อบ่มเซลล์กับสารสกัดสมุนไพรที่ความเข้มข้น 50-400 µg/mL โดยสังเกตการณ์เปลี่ยนรูปของเซลล์ (morphology changes) ภายใต้กล้องจุลทรรศน์ชนิดเรืองแสง ผลการวิจัยพบว่า สารสกัดพืชสมุนไพรทุกชนิดเมื่อเพิ่มความเข้มข้นจาก 50-200 µg/mL เซลล์จะเกิดการเปลี่ยนรูปและเริ่มเกิดการตาย พบ apoptotic bodies ที่มีลักษณะคล้ายพวงองุ่นจำนวนมาก เมื่อเพิ่มความเข้มข้นเป็น 400 µg/mL เซลล์ส่วนใหญ่จะตาย เมื่อตรวจสอบการแตกหักของดีเอ็นเอ (DNA fragmentation assay) จากการ apoptosis เกิดเป็น DNA Ladder เมื่อบ่มเซลล์กับสารสกัดสมุนไพรที่ความเข้มข้น 50-200 µg/mL ผลการวิจัยไม่พบ DNA ladder |
Title Alternate | A study on antiproliferation and apototic effects of flavonoids isolated from Ubon Ratchathani medicinal plants in the family of Leguminosae |