การออกแบบโครงสร้างและพัฒนาคุณสมบัติของสารกึ่งตัวนำโอลิโกไธโอฟีน และสารอนุพันธ์ชนิดใหม่สำหรับพลาสติกอิเล็กทรอนิกส์เพื่อใช้ในอุปกรณ์ทรานซีสเตอร์สนามไฟฟ้าสารอินทรีย์

Titleการออกแบบโครงสร้างและพัฒนาคุณสมบัติของสารกึ่งตัวนำโอลิโกไธโอฟีน และสารอนุพันธ์ชนิดใหม่สำหรับพลาสติกอิเล็กทรอนิกส์เพื่อใช้ในอุปกรณ์ทรานซีสเตอร์สนามไฟฟ้าสารอินทรีย์
Publication Typeงานวิจัย/Research report
Year of Publication2560
Authorsศิริพร จึงสุทธิวงษ์
Institutionคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberTJ223.S45 ศ463ก 2560
Keywordsพลาสติกอิเล็กทรอนิกส์, สนามไฟฟ้า, สารกึ่งตัวนำ, สารกึ่งตัวนำโอลิโกไธโอฟีน, ออร์แกนิกอิเล็กทรอนิกส์, อิเล็กทรอนิกส์, อุปกรณ์ทรานซิสเตอร์
Abstract

การพัฒนาสารโมเลกุลอินทรีย์ชนิดใหม่ที่มีการเคลื่อนที่ของประจุสูง (charge mobility) ในรูปของโมเลกุล oligomer ของ thiophene ชนิดใหม่ เพื่อเป็นสารกึ่งตัวนำอินทรีย์ในอุปกรณ์ OFET ได้รับความสนใจอย่างแพร่หลายทั้งในเชิงวิชาการปละอุตสาหกรรม เพื่อจะนำไปสู่การผลิตในเชิงพาณิชย์ ผู้วิจัยและคณะได้ทำการสังเคราะห์ โมเลกุลเป้าหมาย WS1-WS7 ได้สำเร็จโดยใช้ปฏิกิริยา Suzuki cross-coupling และ cyclization และทำการพิสูจน์เอกลักษณ์โมเลกุลเป้าหมายด้วยเทคนิค 1H NMR และ 13C NMR สมบัติทางแสงถูกวิเคราะห์ด้วยเทคนิค UV-Vis Spectroscopy และ Photoluminescence Spectroscopy ผลการศึกษาโครงสร้างของโมเลกุลเป้าหมาย WS1-WS7 พบว่ามีผลทำให้แกนกลางมีความบิดเบี้ยวเกิดขึ้นเนื่องจากความเกะกะของหมู่แทนที่ โดยหมู่แทนที่ขนาดใหญ่ เช่น ไพรีน (pyrene) ในโมเลกุลเป้าหมาย WS1 และ WS6 หรือ ไตรฟีนิลเอมีน (triphenylamine) ในโมเลกุลเป้าหมาย WS2 และ WS7 ส่งผลต่อการกระจายตัวของอิเล็กตรอน ค่าระดับพลังงาน HOMO ที่เพิ่มขึ้น สเปคตรัมการดูดกลืนแสงที่เคลื่อนที่ไปทางแสงสีแดงและค่าพลังงาน IP ที่ลดลง คาดว่าจะมีสมบัติที่ดีในการประยุกต์ใช้เป็นอุปกรณ์ทรานซิสเตอร์สนามไฟฟ้าสารอินทรีย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Title Alternate Molecular design and development of new oligothiophenes and derivatives as plastic electronics for organic field-effect transistor