Title | การศึกษาฤทธิ์ต้านจุลชีพของพืชสมุนไพร Curcuma cf. comosa Roxb |
Publication Type | งานวิจัย/Research report |
Year of Publication | 2557 |
Authors | ชุตินันท์ ประสิทธิ์ภูริปรีชา, สมหวัง จรรยาขันติกุล, ปรีชา บุญจูง |
Institution | คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี |
City | อุบลราชธานี |
Call Number | QK99 ช616 2557 |
Keywords | การสกัดสมุนไพร, สมุนไพร, สารต้านจุลชีพ, สารสกัดจากพืช--การใช้รักษา |
Abstract | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาฤทธิ์ต้านจุลชีพของพืชสมุนไพรว่านหมาว้อ (Curcuma cf. comosa Roxb) ทั้งสารสกัดสกัดหยาบด้วยตัวทำละลาย 4 ชนิด คือ สารสกัดด้วยเมธานอล:น้ำ (1:1) สารสกัดด้วยเมธานอล: น้ำ (9:1) สารสกัดด้วยเอธิลอะซิเตต และสารสกัดด้วยเฮกเซน และสารสกัดกึ่งบริสุทธิ์ของสารสกัดหยาบที่มีฤทธิ์ต้านจุลชีพดีที่สุด ต่อเชื้อแบคทีเรีย จำนวน 8 ชนิด คือ Staphylococcus aureus, Staphylococcus epidermidis, Streptococcus pyogenes, Streptococcus pnuemoniae, Bacillus cereus, Campylobacter jejuni, Shigella sonnei และ Escherichia coli และเชื้อราจำนวน 4 ชนิด คือ Candida albicans, Aspergillus niger, Microsporum gypseum และ Trichophyton rubrum ด้วยวิธี agar disc diffusion method และเพื่อเปรียบเทียบฤทธิ์ต้านจุลชีพของสารสกัดหยาบของว่านหมาว้อ กับว่านชักมดลูก และขมิ้นชัน ผลการวิจัยพบว่า สารสกัดสกัดหยาบด้วยเอธิลอะซิเตตของว่านหมาว้อที่ความเข้มข้น 10 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร มีฤทธิ์ต้านจุลชีพดีที่สุด สามารถต้านเชื้อแบคทีเรีย จำนวน 7 ชนิด และเชื้อรา จำนวน 2 ชนิด คือ S.aureus, S.epidermidis, S.pyogenase. S.pnuemoniae, B.cereus, C.jejuni. S.soneii, A.niger และ M.gypseum รองลงมาคือ สารสกัดด้วยเมธานอล: น้ำ 9:1 มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียได้ 7 ชนิด และเชื้อรา จำนวน 1 ชนิด ส่วนสารสกัดด้วยเฮกเซนสามารถยับยั้งแบคทีเรียได้ 2 ชนิด และเชื้อรา จำนวน 1 ชนิด ในขณะที่สารสกัดด้วยเมธานอล : น้ำ 1:1 มีความสามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรียได้ 1 ชนิด และเชื้อรา จำนวน 1 ชนิด เท่านั้น ผลการทดสอบฤทธิ์ต้านจุลชีพของสารสกัดหยาบของว่านหมาว้อ กับ ว่านชักมดลูกและขมิ้นชัน พบว่า สารสกัดหยาบของพืชสมุนไพรทั้งสามชนิดมีฤทธิ์ต้านจุลชีพที่แตกต่างกัน ดังนั้น ว่านหมาว้อจึงไม่น่าจะเป็นต้นเดียวกับว่านชักมดลูก ผลการทดสอบฤทธิ์ต้านจุลชีพของสารสกัดกึ่งบริสุทธิ์ของสารสกัดหยาบด้วยเอธิลอะซิเตตที่มีฤทธิ์ต้านจุลชีพดีที่สุด จำนวน 23 ส่วนสกัด พบว่า ฤทธิ์ต้านจุลชีพจะอยู่ในช่วงลำดับที่ CE-18 ถึง CE-24 โดยสารสกัดกึ่งบริสุทธิ์ที่ CE-20 มีฤทธิ์ต้านจุลชีพดีที่สุด คือ สามารถต้านเชื้อแบคทีเรีย จำนวน 6 ชนิด และเชื้อราจำนวน 2 ชนิด คือ S.epidermidis, S.pyogenase, S.pnuemoniae, B.cereus, C.jejuni, S.soneii, A.niger และ M.gypseum งานวิจัยนี้สรุปได้ว่า พืชสมุนไพรว่านหมาว้อมีฤทธิ์ต้านจุลชีพที่ดี มีศักยภาพในการนำไปศึกษาวิจัยต่อยอดให้ได้สาระสำคัญ เพื่อพัฒนาเป็นยาใหม่ในอนาคต |
Title Alternate | A study on antimicrobial activity of a herbal plant, Curcuma cf. comosa Roxb |