Title | การพัฒนาแนวคิดวิทยาศาสตร์ เรื่อง สนามของแรงแม่เหล็ก-ไฟฟ้า โดยใช้กิจกรรมการทดลองอย่างง่ายร่วมกับสื่อมัลติมีเดีย |
Publication Type | วิทยานิพนธ์/Thesis |
Year of Publication | 2557 |
Authors | เกรียงไกร ทานะเวช |
Degree | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต -- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา |
Institution | คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี |
City | อุบลราชธานี |
Call Number | QC ก767ก 2557 |
Keywords | การสอนวิทยาศาสตร์, สนามแม่เหล็กไฟฟ้า--การศึกษาและการสอน, สนามแม่เหล็กไฟฟ้า--การสอนด้วยสื่อ, สื่อการสอน, สื่อมัลติมีเดีย |
Abstract | กิจกรรมการทดลองมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ของผู้เรียน จำเป็นต้องเน้นให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติและเห็นปรากฏการณ์จริง โดยอาศัยชุดการทดลองที่ออกแบบอย่างเรียบง่ายจากสิ่งที่อยู่ใกล้ตัว ราคาถูก ร่วมกับการนำสื่อมัลติมีเดียช่วยเสริมสร้างแนวคิดที่ตรงกัน ช่วยแก้ปัญหาความขาดแคลนอุปกรณ์การทดลองทางวิทยาศาสตร์ ดังนั้น การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาแนวคิดวิทยาศาสตร์ เรื่อง สนามของแรงแม่เหล็ก-ไฟฟ้า โดยใช้กิจกรรมการทดลองอย่างง่าย ร่วมกับสื่อมัลติมีเดีย กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 34 คน โดยใช้แบบแผนการวิจัยแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนของกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ชุดกิจกรรมการทดลองอย่างง่ายร่วมกับสื่อมัลติมีเดีย แผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์ แบบทดสอบวัดแนวคิดวิทยาศาสตร์ เรื่อง สนามของแรงแม่เหล็ก-ไฟฟ้า แบบ 2 ลำดับขั้น แบบทดสอบสัมภาษณ์แนวคิดวิทยาศาสตร์และแบบวัดความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าทีและความก้าวหน้าทางการเรียน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีแนวคิดเรื่อง สนามชองแรงแม่เหล็ก-ไฟฟ้า สูงขึ้นหลังการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีการพัฒนาแนวคิดวิทยาศาสตร์รายชั้นเฉลี่ยอยู่ระดับปานกลาง (Average normalized gain, = 0.33) ผู้เรียนส่วนใหญ่สามารถอธิบายแนวคิดวิทยาศาสตร์ได้ดีและมีเจตคติเชิงบวก โดยมีความพึงพอใจต่อการจัดการจัดการเรียนรู้ระดับมากชี้ให้เห็นว่าการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะโดยใช้กิจกรรมการทดลองอย่างง่ายร่วมกับสื่อมัลติมีเดีย สามารถช่วยพัฒนาแนวคิดวิทยาศาสตร์ เรื่อง สนามของแรงแม่เหล็ก-ไฟฟ้า เป็นการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองจากการปฏิบัติจริงและมีสื่อที่หลากหลายช่วยเสริมสร้างแนวคิดที่ถูกต้อง ทำให้นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ |
Title Alternate | Developing scientific concepts on magnetic and electric field using simple experiment and multimedia learning |