ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อกำหนดพื้นที่เหมาะสมสำหรับการชลประทาน : กรณีศึกษา แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

Titleระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อกำหนดพื้นที่เหมาะสมสำหรับการชลประทาน : กรณีศึกษา แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2557
Authorsเกศแก้ว นันเทพา
Degreeวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต -- สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศการเกษตรและพัฒนาชนบท
Institutionคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberTC ก772ร 2557
Keywordsชลประทาน, ระบบการรับรู้ระยะไกล, ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
Abstract

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) รวบรวมข้อมูลเชิงพื้นที่และจัดทำฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดพื้นที่เหมาะสมสำหรับพื้นที่ชลประทานในแขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 2) วิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อกำหนดพื้นที่เหมาะสมสำหรับเป็นพื้นที่ชลประทานในแขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และ 3) พัฒนาระบบแสดงแผนที่บนอินเตอร์เน็ต สำหรับช่วยสนับสนุนการตัดสินใจในการวางแผนพัฒนาพื้นที่ชลประทานของแขวงชลประทาน แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาขนลาว
จากการศึกษาพบว่า ข้อมูลเชิงพื้นที่ที่เกี่ยวข้องกับการชลประทานและการกำหนดพื้นที่เหมาะสม สำหับพื้นที่ชลประทานในแขวงจำปาสัก ที่ได้รวบรวมแสดงบนอินเตอร์เน็ต ได้แก่ ชั้นข้อมูลขอบเขตการปกครอง ถนน หมู่บ้าน แหล่งน้ำ การใช้ประโยชน์ที่ดิน ที่ตั้งหัวงานชลประทาน พื้นที่ชลประทาน พื้นที่ปลูกข้าว พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ เนื้อดิน การระบายน้ำของดิน ความลึกของดิน แคลเซียม-คาร์บอเนต และความลาดชัน สำหรับการกำหนดและจัดทำแผนที่แสดงพื้นที่ความเหมาะสมสำหรับเป็นพื้นที่ชลประทานในแขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ร่วมกับการวิเคราะห์ศักยภาพเชิงพื้นที่โดยใช้วิธีการประเมินผลจากปัจจัยต่าง ๆ ได้แก่ เนื้อดิน ความลึกของชั้นดิน ความสามารถในการระบายน้ำของดิน ปริมาณแคลเซียมคาร์บอเนตในดิน การนำไฟฟ้าของสารละลายดิน ความลาดชันของพื้นที่ ผลการศึกษาพบว่า พื้นที่ตัวอย่างของแขวงจำปาสักที่ดำเนินการวิจัย มีพื้นที่ที่มีศักยภาพที่จะพัฒนาด้านการชลประทาน จำนวน 150,300 เฮกแตร์ (ร้อยละ 53 ของพื้นที่ศึกษา) โดยจำแนกเป็นพื้นที่ที่มีความเหมาะสมมาก เหมาะสมปานกลางและเหมาะสมน้อย เท่ากับ 17,100 70,000 และ 63,200 เฮกแตร์ (ร้อยละ 6.03 24.67 และ 22.28 ของพื้นที่ศึกษา) ตามลำดับ
ส่วนการพัฒนาระบบแสดงแผนที่บนอินเตอร์เน็ต โดยการใช้ Geoserver เป็นแม่ข่ายแผนที่สำหรับให้บริการข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและใช้ Openlayer สำหรับพัฒนาระบบแสดงแผนที่บนอินเตอร์เน็ต ซึ่งผู้ใช้งานทั่วไปสามารถดู ย่อ ขยาย วัดระยะทาง วัดเนื้อที่ เลือกหรือซ่อนชั้นพื้นที่ รวมทั้งแสดงข้อมูลในชั้นแผนที่ต่าง ๆ ได้
ผลจากการประเมินประสิทธิภาพของระบบแสดงแผนที่บนอินเตอร์เน็ตโดยผู้เชี่ยวชาญ และผู้ใช้งานด้วยวิธี Black.Box.Testing. พบว่า ผลการประเมินประสิทธิภาพระบบแสดงแผนที่บนอินเตอร์เน็ตโดยผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ มีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.85 (คะแนนเต็ม 5.0) หมายถึง ระบบสารสนเทศที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพสามารถนำไปใช้งานได้ในระดับดี สำหรับผลการประเมินประสิทธิภาพระบบแสดงแผนที่บนอินเตอร์เน็ตโดยผู้ใช้งานทั่วไป มีค่าคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 3.48 (คะแนนเต็ม 5.0) ซึ่งหมายถึงระบบแสดงแผนที่บนอินเตอร์เน็ตที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพสามารถนำไปใช้งานได้ในระดับดี และค่าเฉลี่ยผลการประเมินประสิทธิภาพระบบสารสนเทศโดยผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและผู้ใช้งานทั่วไป มีค่าเท่ากับ 3.68 (คะแนนเต็ม 5.0) สรุปได้ว่า ระบบสารสนเทศที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพสามารถนำไปใช้งานได้ดีในระดับดี

Title Alternate Geographic information system to identify suitable areas for irrigation : a case study of Champasak province, Lao People Democratic Republic