Title | การทำงานของยีนที่ควบคุมลักษณะผลผลิตและองค์ประกอบผลผลิตงา (Sesamum indicum L.) |
Publication Type | วิทยานิพนธ์/Thesis |
Year of Publication | 2558 |
Authors | เข็มพร สุดตะพันธ์ |
Degree | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต -- สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ |
Institution | คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี |
City | อุบลราชธานี |
Call Number | SB ข642ก 2558 |
Keywords | การปรับปรุงพันธ์ุงา, งา--การปรับปรุงพันธุ์, งา--พันธุศาสตร์, งา--เมล็ดพันธุ์, ผลผลิตงาน, ยีน |
Abstract | การทดลองนี้ดำเนินการ ณ สำนักงานไร่ฝึกทดลองและห้องปฏิบัติการกลาง คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี โดยเริ่มปฏิบัติงานตั้งแต่ ปี พ.ศ.2555 ถึง พ.ศ.2557 ปลูกงา 3 สายพันธุ์ คือ KU18, A30-15 และ WL9 ทำการผสมแบบพบกันหมดได้ 3 คู่ผสม ได้แก่ KU18×A30-15, KU18×WL9 และ A30-16×WL9 และทำการผสมแต่ละคู่ผสมให้ประกอบด้วยประชากร 6 ชั่วรุ่น คือ P1, P2, F1, F2, BC1 และ BC2 แบบไม่มีการผสมสลับพ่อแม่ (half diallel cross) และประเมินผลผลิตและองค์ประกอบผลผลิตโดยวางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD) เพื่อประเมินการทำงานของยีนของลักษณะผลผลิตและองค์ประกอบผลผลิต คือ ความสูงฝักแรก ความสูงต้น ความยาวข้อปล้อง จำนวนกิ่งหลักต่อต้น จำนวนฝักต่อต้น และน้ำหนัก 1000 เมล็ด จากการศึกษาพบว่า ลักษณะความสูงฝักแรก และความสูงต้น ถูกควบคุมด้วยการทำงานของยีนทั้ง 3 แบบ คือ additive gene, dominance gene และ epitasis ลักษณะความยาวข้อปล้อง ถูกควบคุมด้วยการทำงานของยีนแบบ additive gene และ additive x dominance ลักษณะจำนวนกิ่งหลักต่อต้น จำนวนฝักต่อต้น และน้ำหนัก 1000 เมล็ด ถูกควบคุมด้วยอิทธิพลของยีนแบบ dominance gene และ epistasis มากกว่า additive gene ส่วนอัตราพันธุกรรมพบว่า ลักษณะความสูงฝักแรกมีค่าอัตราพันธุกรรมอยู่ในช่วงร้อยละ 23.75-81.91 และมีค่าอัตราพันธุกรรมสูงในสองคู่ผสม รองลงมา คือ ลักษณะความสูงต้นมีค่าอัตราพันธุกรรมอยู่ในช่วงร้อยละ 50.55-59.07 และลักษณะจำนวนกิ่งหลักต่อต้นมีค่าอัตราพันธุกรรมต่ำในทุกคู่ผสม ค่าอัตราพันธุกรรมอยู่ในช่วงร้อยละ 18.35-53.58 ตามลำดับ ส่วนลักษณะจำนวนฝักต่อต้น ความยาวปล้อง และน้ำหนัก 1000 เมล็ด พบว่าอัตราพันธุกรรมต่ำ มีค่าอัตราพันธุกรรมอยู่ในช่วงร้อยละ 17.20, 11.22-12.51 และ 0.00 ตามลำดับ |
Title Alternate | Gene action of yield and yield components in sesame (Sesamum indicum L.) |